Drought Tolerant GM Wheat Makes Great Progress in China
ประเทศจีนกำลังรุดหน้าอย่างมากในการพัฒนาข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรมทนแล้ง โดยศาสตราจารย์ Youzhi Ma ประธานโครงการวิจัยนี้ได้กล่าวว่า ข้าวสาลีจีเอ็มทนแล้งนี้ ได้รับการพัฒนามาแล้วสองปี ยีนที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายมาจากการโคลนยีนถั่วเหลืองและข้าวสาลีซึ่งล้วนเป็นลิขสิทธิ์ของสถาบัน โดยขณะนี้ได้มีการทดลองภาคสนามซึ่งเป็นโครงการนำร่องไปแล้ว 4 สายพันธุ์
รายละเอียดเพิ่มเติม...Science Officials Welcome Favorable Decisions on Bt Eggplant
หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศฟิลิปปินส์ ต่างยินดีต่อคำตัดสินของอัยการจังหวัดลากูนา ที่ให้มีการเรียกเก็บค่าเสียหายจากผู้ที่บุกรุกเข้าไปทำลาย แปลงทดลองมะเขือม่วงบีทีของสถาบันปรับปรุงพันธุ์พืช ภายในมหาวิทยาลัย the Phillipines Los Banos รวมทั้งมติครั้งสุดท้ายของสภาจังหวัด North Cotabato ที่อนุญาตให้มีการทดสอบภาคสนามมะเขือม่วงบีที ในเมือง Kabacan ดร. Ruben Villareal จากสำนักการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (Nation Academy of Science and Technology – NAST) ได้กล่าวว่า การศึกษาวิจัยและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรของประเทศ โดยจากคำตัดสินของอัยการดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการทดสอบภาคสนามซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์นั้นเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ ดร. Candida Adalla ประธานสำนักแผนด้านเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร ได้กล่าวอีกว่าคำตัดสินที่ออกมาชี้ให้เห็นว่าสิทธิของ บุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ควรกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น และยังได้แสดงความยินดีที่ความพยายามของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำให้ ประชาชนรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นและนักกฎหมาย มีความรู้และเกิดความเข้าใจชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม
รายละเอียดเพิ่มเติม...ข้าว GMOs ระบาดตลาดแดนมังกร
รัฐบาลจีน กำลังพิจารณาอนุมัติให้ปลูกข้าวตัดต่อพันธุกรรมในไร่นาเปิดทั่วไปได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากข้าวเป็นธัญพืชหลักที่ใช้บริโภคกันเกือบ ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการตัดต่อถ่ายโอน ยีน Bt ที่ทนต่อการทำลายของแมลงศัตรูใส่ลงในต้นข้าวจนได้พันธุ์ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมสำเร็จลุล่วงได้ผลเป็นอย่างดี้ แต่ได้ทำการชะลอเอาไว้ เนื่องจากกระแสต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรมกำลังร้อนแรง ด้วยเกรงว่าวิทยาการแขนงนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจละเอียดถ่องแท้ในหมู่ประชนทั่วๆไป แต่คาดว่าคงจะประกาศให้ปลูกกันได้ในอนาคตอันใกล้นี้ และถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว จีนจะเป็นประเทศแรกที่ปลูกข้าวตัดต่อพันธุกรรม ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง โดยชี้ให้เห็นว่ายีนข้าว Xa21 นั้นมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ไม่เป็นพิษภัยแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นยีนที่มีอยู่ในข้าวโดยธรรมชาติอยู่แล้ว คงไม่ส่งผลกระทบต่อสมดุลแวดล้อมธรรมชาติและสุขภาพของคนเราอย่างแน่นอน
รายละเอียดเพิ่มเติม...Publication on the Status of Bt Cotton in Myanmar
องค์กรไอซาร์ (International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications: ISAAA) สำนักงานแห่งเอเชียใต้ได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับ การปลดปล่อยฝ้ายบีทีอย่างเป็นทางการของประเทศพม่า โดยใช้ชื่อว่า “The Status of Bt Cotton-the Silver Sixth-in Myanmar, 2010” สาระสำคัญของเอกสารประกอบด้วยภาพรวมของการยอมรับ และผลกระทบจากการนำฝ้ายที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของพื้นที่ปลูก จำนวนเกษตรกรที่ปลูกรวมถึงการวิจัยและพัฒนาฝ้าย GM สายพันธุ์ดังกล่าว โดยขณะนี้ประเทศพม่าจัดเป็นประเทศลำดับที่ 13 ของโลกที่กำลังปลูกฝ้ายบีทีในเชิงพาณิชย
รายละเอียดเพิ่มเติม...Scientific Field Trial with GM Potatoes Starts in WETTEREN, BELGIUM
มหาวิทยาลัย Ghent University ประเทศเบลเยี่ยมได้เริ่มทดสอบภาคสนามครั้งแรก สำหรับมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานโรคใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophtera infestanโดยการทดสอบนี้จะเปรียบเทียบประสิทธิผลความต้านทานของยีนระหว่างมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรม กับมันฝรั่งธรรมชาติ 2 สายพันธุ์ที่ไม่มีความต้านทานโรค และอีก 2 สายพันธุ์ที่ใช้ปลูกในเกษตรอินทรีย์
รายละเอียดเพิ่มเติม...ออสเตรเลียมีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสารปราบวัชพืช
สำนักงานกำกับดูแลด้านพันธุวิศวกรรมแห่งออสเตรเลีย (OTGR) ได้มีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตแก่บริษัทมอนซานโต้สำหรับ การปลดปล่อยในสภาพจำกัดของคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสารปราบวัชพืช การปลดปล่อยดังกล่าวมีระยะเวลาสี่ปีโดยในปีแรกกำหนดให้มี พื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุด 4 เฮคตาร์ และ 10 เฮคตาร์ในปีถัดๆ ไปในพื้นที่ของรัฐในระดับท้องถิ่นของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (46 แห่ง) รัฐวิคตอเรีย (28 แห่ง) และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (53 แห่ง) อย่างไรก็ตามการให้อนุญาตจะมีขึ้นหลังจากที่มีการพิจารณาถึงแผนการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งจากสาธารณชน รัฐและเขตการปกครององค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องต่างๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม...สหพันธรัฐรัสเซียได้ให้การรับรองข้าวโพดอาหารสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม
สหพันธรัฐรัสเซียได้ให้การรับรองข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม event 3272 เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ ภายในประเทศเมื่อไม่นานมานี้โดยข้าวโพดสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม ที่พัฒนาโดยบริษัทซินเจนทาให้มีเอนไซม์อะไมเลสที่ใช้ในกระบวนการบดแห้งเพื่อสกัดเอธานอลจากข้าวโพดซึ่งเป็นการแทนที่จะต้องเติมเอนไซม์ ที่ผลิตจากจุลินทรีย์จากภายนอกเข้าสู่กระบวนการสกัด
รายละเอียดเพิ่มเติม...ประเทศเกาหลีใต้ได้ให้การรับรองพืชเทคโนชีวภาพเพื่อใช้เป็นอาหารและอาหารสัตว์
ประเทศเกาหลีใต้ได้ให้การรับรองพืชเทคโนชีวภาพเพื่อใช้เป็นอาหารและอาหารสัตว์แล้ว โดยเป็นพืชที่มีลักษณะเดี่ยว สายพันธุ์ คือ ข้าวโพด MIR 162, ข้าวโพด DP-098140-6 และฝ้าย GHB614 รวมทั้งข้าวโพดที่มีลักษณะรวม 2 สายพันธุ์ คาดว่าจะมีพืชเทคโนชีวภาพสายพันธุ์อื่นๆ จะได้รับการรับรองเพิ่มเติมอีกภายในปลายปี 2553 นี้ ผู้ส่งออกจากสหรัฐอเมริกา ได้รับคำแนะนำให้ตรวจสอบบัญชีรายชื่อ พืชเทคโนชีวภาพที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเกาหลีใต้จาก Korea Bio-Safety Clearing House ซึ่งต้องใช้ร่วมกับเอกสารขนส่งสินค้า
รายละเอียดเพิ่มเติม...ผลการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ สมัยที่ 5 ระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม 2553 ณ เมืองนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น
สมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ ได้รับรองข้อตัดสินใจในประเด็นต่างๆ 15 ข้อ ได้แก่ รายงานของคณะกรรมการปฏิบัติตามพิธีสารฯ, กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ, สถานภาพของกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะ, ทะเบียนรายนามผู้เชี่ยวชาญ ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ, ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลไกและทรัพยากรทางการเงิน, ความร่วมมือกับองค์กร อนุสัญญา และโครงการอื่นๆ, งบประมาณสำหรับโปรแกรมงานของพิธีสารฯ, การดูแล ขนส่ง บรรจุหีบห่อ และจำแนกระบุ, สิทธิ และ/หรือ พันธกรณี ของภาคีที่มีการนำผ่าน, การรับผิดและชดใช้, การประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง, ความตระหนัก การศึกษาและการมีส่วนร่วม ของสาธารณชน, การติดตาม ตรวจสอบ และการรายงาน, การประเมินผลและพิจารณาทบทวน และแผนกลยุทธ์ของพิธีสารฯ
รายละเอียดเพิ่มเติม...NATIONAL BIOSAFETY BOARD AND GMAC ESTABLISHED IN MALAYSIA
นาย Datuk Seri Douglas Uggah Embas, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประเทศมาเลเซีย ได้แถลงถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ แห่งชาติ (The National Biosafety Board: NBB) และคณะที่ปรึกษาด้านสิ่งมีชีวิตดัดแปลง พันธุกรรม (Genetic Modification Advisory Committee: GMAC) ภายใต้พระราชบัญญัติความ ปลอดภัยทางชีวภาพ 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552 โดยคณะกรรมการความ ปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติมีปลัดกระทรวงทรัทยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจาก 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์,เทคโนโลยี และนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการค้า ระหว่างประเทศ กระทรวงความร่วมมือการค้าภายในและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์อีก 3 ท่าน คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับ LMOs ทั้งการปลดปล่อย การนำเข้า การส่งออก และการใช้ในสภาพควบคุม และติดตามกิจกรรม ดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมการวิจัยพัฒนา การศึกษา และการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ LMOs และความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับคณะที่ปรึกษาด้านสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม จะทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ทางด้านเทคนิคและวิทยาศาสตร์ต่อรัฐมนตรีและ NBB โดยองค์ประกอบของ GMAC ประกอบ ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์หลายสาขา ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการ วิจัย ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
ข่าวเก่า...
[ มกราคม - ตุลาคม 2552 ] [ ตุลาคม 2551]