European Commission Clears Syngenta’s GM Maize for Food and Feed Use
คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปได้ตัดสินใจอนุญาตให้กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปสามารถ ใช้ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม MIR604 เพื่อเป็นอาหาร อาหารสัตว์ และใช้ในกระบวนการผลิต โดย ข้าวโพด MIR604 สามารถผลิตโปรตีน mCry3A ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านต่อ western corn rootworm และศัตรูพืชจำพวก coleopteran คณะกรรมาธิการฯ ได้แถลงว่า MIR604 ได้ผ่านการประเมินความ ปลอดภัยจาก EFSA และหลักเกณฑ์วิธีการเกี่ยวกับการกำกับดูแลของสหภาพยุโรปด้วย นอกจากนี้ EFSA ยังได้ให้ข้อมูลบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมมีความปลอดภัย เช่นเดียวกับข้าวโพดธรรมชาติ ทั้งในด้านผลกระทบที่เป็นไปได้ต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
Philippines Approves Syngenta’s GA21 Corn
กรมการเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์ได้ให้การรับรองข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม GA21 ของบริษัทซินเจนทา และสามารถปลูกเพื่อการค้าได้แล้วภายในประเทศ หลังจากที่มีการนำเข้า เพื่อเป็นอาหารและอาหารสัตว์มาตั้งแต่ปี 2003 ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าวจะแสดงโปรตีน EPSPS ซึ่งเป็นเอมไซม์ที่มีคุณสมบัติในการต้านทานต่อสารปราบวัชพืชไกลโฟเซต
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
GM Rice in China Biosafety Certificate
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนได้ประกาศบัญชีรายชื่อ ของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพจากสำนักบริการความ ปลอดภัยทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม โดยเป็นข้าวดัดแปลงพันธุกรรม 2 สายพันธุ์ ที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร Huazhong ได้แก่ สายพันธุ์ “Huahui No.1” และ สายพันธุ์Hybrids “Bt Shanyou 63” with Bt Cry1A gene ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านแมลงศัตรูข้าว จำพวก lepidopteran เมล็ดพันธุ์ของข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่ผลิตขึ้นในจีนจะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัย ทั้ง 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1)การผ่านการรับรองจากห้องปฏิบัติการ 2)การทดสอบระยะกลา 3)การปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม 4)การทดสอบกระบวนการผลิต 5)การได้รับการรับรองความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการปลูกข้าวดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อการค้า จะต้องผ่านการอนุญาตให้ผลิต และมีการบริหารจัดการเพื่อเมล็ดพันธุ์อย่างเป็นทางการเสียก่อน
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
Australia Approves GM Cotton for Cultivation
สำนักควบคุมพันธุศาสตร์ (Office of Gene Technology Regulator:OTGR)แห่งออสเตรเลีย ได้อนุญาตให้มีการปลดปล่อยฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม WideStrike เพื่อการค้าภายในประเทศแล้ว ซึ่งฝ้าย GM ดังกล่าวจะแสดงยีน Cry1F และ Cry1ACที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านแมลงศัตรูพืช สำนักควบคุมพันธุศาสตร์ได้ประกาศให้การปลูกฝ้าย GM สามารถทำได้ในพื้นที่ทางตอนใต้ของ ออสเตรเลียและสามารถใช้เมล็ดฝ้ายเป็นอาหารสัตว์ได้ทั่วไปในประเทศ ในขณะที่ในพื้นที่ทาง ตอนเหนือของประเทศที่ได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อจำกัดการแพร่กระจายและการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมไว้แล้วก็สามารถปลูกและใช้ได้
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
Greenlight for High-Phytase FM Corn in China
บริษัทออริจิน อะกริเทค จำกัด ในปักกิ่ง ได้รับใบประกาศรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพ ของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถผลิตสารไฟเตสได้ จากกระทรวงเกษตรของ ประเทศจีน โดยการให้การรับรองครั้งนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลง พันธุกรรมของประเทศจีนก่อนที่จะดำเนินการผลิตเพื่อการค้า โดยทั่วไปแล้ว ไฟเตสจะถูกนำไปเติม ลงในอาหารสัตว์เพื่อช่วยลดกรดไฟติกและดูดซับฟอสฟอรัสจากสัตว์ ข้าวโพด GM นี้ จึงสามารถ ช่วยลดต้นทุนการผลิตที่จะต้องซื้อทั้งเมล็ดพันธุ์และสารไฟเตสแยกกัน ในขณะเดียวกันยังช่วยลด มลพิษจำพวกฟอสเฟตที่เกิดจากของเสียที่สัตว์ขับถ่ายออกมา รวมทั้งยังเป็นการลดการใช้ปุ๋ยใน ปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
Bt Cotton Varieties Approved in Pakistan
รัฐบาลปากีสถานได้อนุญาตให้มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมภายในประเทศแล้ว โดย หลังจากที่คณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติได้เปิดเผย อย่างชัดเจนว่า มีฝ้ายบีที 2 สายพันธุ์ (CEMB-1 และ CEMB-2) ที่สามารถปลดปล่อยเพื่อการค้าได้ โดยฝ้ายทั้งสองสายพันธุ์ได้รับการพัฒนาจากนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางด้าน ชีวโมเลกุล (Centre of Excellence in Molecular Biology: CEMB) ของมหาวิทยาลัยปัญจาบ
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
Canada Okays GM Corn and Soybean
รัฐบาลแคนาดาได้อนุญาตให้บริษัทไพโอเนียร์ จำกัด สามารถปลดปล่อยข้าวโพดไฮบริด ดัดแปลงพันธุกรรม และถั่วเหลืองไฮบริดดัดแปลงพันธุกรรม 2 events (98140 และ 356043 ตามลำดับ) สู่สิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยข้าวโพดและถั่วเหลืองดังกล่าวได้ผ่านการ ประเมินจาก Canadian Food Inspection Agency แล้วว่ามีความปลอดภัยทางด้านอาหารเมื่อ เปรียบเทียบกับข้าวโพดและถั่วเหลืองสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีการจำหน่ายอยู่แล้วภายในประเทศ และ ไม่มีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
Brazil Approves Two New GM Corn Traits
คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ ประเทศบราซิล ได้ให้การรับรองข้าวโพด ดัดแปลงพันธุกรรม MIR162 และ Bt11xGA21 ของบริษัทซินเจนทา จำกัด เพื่อปลูกในเชิงการค้า โดยข้าวโพด GM MIR162 มีคุณสมบัติต่อต้านศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อ เช่น corn ear worm, black cut worm และ fall army worm ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่ทำลายข้าวโพดในบราซิล ในขณะที่ ข้าวโพด GM Bt11xGA21 มีคุณสมบัติทนทานต่อยากำจัดวัชพืชจำพวกไกลโฟเซตและต้านทานแมลง
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
Limited Release of Herbicide-resistant Sugarcane in Australia (13 Nov)
หน่วยงานกำกับด้านพันธุศาสตร์แห่งออสเตรเลียได้ให้การรับรองแก่บริษัท BSES จำกัด ใน การปลดปล่อยอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชเพื่อการทดลองในสภาพจำกัดใน 6 พื้นที่ของรัฐควีนส์แลนด์ ระหว่างปี 2009-2015 เพื่อประเมินด้านการเกษตรของอ้อย GM ที่เติบโต ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ข้อมูลที่ไม่เป็นความลับทางการค้า ได้แก่ รายละเอียดข้อมูลของอ้อย GM ลักษณะ และขั้นตอนการดูแลที่เกี่ยวกับความทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช ได้ถูกเปิดเผยต่อ สาธารณชนภายใต้ข้อกำหนดของพระราชบัญญัติเทคโนโลยีพันธุศาสตร์ (Gene Technology Act)
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
EU Approves Three GM Maize Strains (6 Nov)
คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปได้อนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม 3 strains เพื่อใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ และใช้ในกระบวนการผลิตใน 27 ประเทศสมาชิก โดยข้าวโพด GM 2 สายพันธุ์ที่พัฒนาจากบริษัทมอนซานโต้ จำกัด มีคุณสมบัติต้านทานแมลง (MON 89034) และ อีกสายพันธุ์มีคุณสมบัติทั้งต้านทานต่อแมลงและทนต่อยาปราบวัชพืช (MON 88017) ในขณะที่ ข้าวโพด GM ที่พัฒนาจากบริษัทดูปองส์ จำกัด เป็น Stacked Herculex RW/ Roundup Ready Corn2 การให้อนุญาตครั้งนี้เป็นการดำเนินการหลังจากที่หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่ง สหภาพยุโรป (EFSA) ได้ให้ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ว่า ข้าวโพด GM ทั้ง 3 strains ไม่มีผลกระทบ ต่อสุขอนามัยของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม
ที่มา: ISAAA Crop Biotech Update
ข่าวเก่า...
[ มกราคม - ตุลาคม 2552 ] [ ตุลาคม 2551]