พิธีสารฯ กำหนดกระบวนการในการพิจารณาใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
- ความตกลงการแจ้งล่วงหน้า (Advance Informed Agreement-AIA)
- ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามประเทศของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีเจตนาปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนการเห็นชอบให้มีการนำเข้า (มาตรา 7-10)
- กระบวนการสำหรับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้เป็นอาหารหรืออาหารสัตว์ หรือใช้ในกระบวนการผลิต
- กำหนดให้แจ้งการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ภายในประเทศ รวมถึงการวางจำหน่ายในท้องตลาด ผ่านทางกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา 11)
- กำหนดให้มีเอกสารข้อมูลกำกับชัดเจนว่า “อาจประกอบด้วย” (“may contain”) สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (มาตรา 18)
- การประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง และการใช้แนวทางระมัดระวังล่วงหน้า
- ให้มีการประเมินความเสี่ยงบนพื้นฐานและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนการตัดสินใจ (มาตรา 15)
- จัดทำมาตรการ กลไกในการจัดการและควบคุมความเสี่ยงเพื่อบังคับใช้ในระดับที่จำเป็น และกำหนดมาตรการให้มีการประเมิน
ความเสี่ยงก่อนการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม (มาตรา 16)
นอกจากนั้น ยังกำหนดกลไกเพื่อสนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อาทิ
- กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ให้มีการจัดตั้งกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน และสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลวิทยาศาสตร์ วิชาการ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 20)
- การเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรและองค์กรด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา 22)
- ประเด็นของความรับผิดและชดใช้ความเสียหาย ที่ให้มีการเจรจาเพื่อกำหนดกฎและขั้นตอนปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี (มาตรา 27)
- ข้อกำหนดสนับสนุนอื่นๆ อาทิ
- ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของสาธารณะ
- ข้อพิจารณาด้านสังคมเศรษฐกิจ
- กลไกและทรัพยากรทางการเงิน
- การปฏิบัติตาม
- การประเมินผล
รายละเอียดเพิ่มเติม>>