9 ธ.ค. 54

สหภาพยุโรปได้เริ่มดำเนินงานตามแผนการประเมินผลกระทบข้าวโพดและมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมที่มีต่อระบบนิเวศเกษตร

ข้าวโพดและมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมเป็นพืชสองชนิดที่ผ่านการอนุญาตให้ปลูกได้แล้วในแถบยุโรป โครงการนี้มีระยะเวลาทั้งสิ้นสี่ปี โดยมีผู้ร่วมโครงการหลากหลายทั้งจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน หน่วยงานวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยภาคสนามและวิเคราะห์ผลประทบจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม ในขณะที่องค์กรด้านเทคโนโลยี พลังงานและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนแห่งชาติของประเทศอิตาลีจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการ

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

9 ธ.ค. 54

Decision to License Commercial Release of GM Canola in Australia

หน่วยงานกำกับเทคโนโนยีพันธุศาสตร์ ประเทศออสเตรเลีย ได้อนุญาตให้บริษัท Bayer CropScience Pty Ltd สามารถปลดปล่อยคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนต่อยาปราบวัชพืช ซึ่งเป็นสายพันธุ์ลูกผสม เพื่อการบริโภคเป็นอาหารและอาหารสัตว์

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

Japan Imports GM Papaya from Hawaii

ญี่ปุ่นมีแผนจะนำเข้ามะละกอดัดแปลงพันธุกรรมจากรัฐฮาวาย และจะเริ่มวางขายในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 หลังจากที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมง ได้ผ่านการแก้ไขข้อกฎหมายที่ว่าด้วยมาตรฐานการติดฉลากอาหารดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว โดยมะละกอที่จะนำเข้านี้เป็นสายพันธุ์ที่มี ชื่อว่า Rainbow papaya ซึ่งรัฐฮาวายได้พัฒนาเพื่อให้สามารถต้านทานต่อไวรัส และมีวัตถุประสงค์ผลิตเพื่อการบริโภคเป็นหลัก

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

ก.ย. 54

องค์กรไอซาร์ (International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications: ISAAA) ได้จัดทำการ์ตูนแอนิเมชั่นสำหรับเผยแพร่เกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

26 ส.ค 54

GM Crop Planting in Vietnam Set for 2012

เวียดนามจะเริ่มมีการปลูกพืชจีเอ็มในปี 2555 ซึ่งขณะนี้เวียดนามอยู่ระหว่างการทดลองภาคสนามพืชจีเอ็ม ได้แก่ ข้าวที่อุดมด้วยวิตามิน ข้าวโพดต้านทานสารปราบวัชพืช และถั่วทนแล้ง โดยพื้นที่ที่ใช้ทดลองภาคสนามแห่งแรก คือ ทางตอนเหนือของจังหวัด Vinh Phuc

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

5 ส.ค. 54

EFSA Releases Scientific Opinion on Post Market Environmental Monitoring of GMPs

หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้เผยแพร่แนวทางการติดตามด้านสิ่งแวดล้อมภายหลังวางตลาดพืชดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified plants – GMPs) แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย คำชี้แจงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของแนวดังกล่าว ตัวอย่างและแนวปฏิบัติเพื่อให้ ผู้ขออนุญาตสามารถดำเนินการได้ตามแผนติดตามเฉพาะแต่ละกรณี (Case-Specific Monitoring – CSM) รวมถึงแนวทางสำหรับวางยุทธศาสตร์ วิธีการและรายงานผลการติดตาม

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

22 ก.ค.54

Spain Confirms Bt Corn Has No Adverse Effects on the Environment

กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสเปน ได้เผยแพร่รายงานผลการติดตามการปลูกข้าวโพดจีเอ็มในประเทศสเปน โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ข้าวโพดบีทีไม่มีผลกระทบทางลบทั้งต่อสัตว์ข้อปล้องและจุลินทรีย์ในดินที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ในขณะเดียวกันสัตว์ทั้งสองกลุ่มกลับมีปริมาณเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสเปนก็จะยังคงติดตามการปลูกพืชจีเอ็มอื่นๆ ในต่อไปอีก

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

8 ก.ค.54

EU Parliament Paves Way for GMO Bans

รัฐสภาสหภาพยุโรปได้รับรองข้อเสนอจากคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปที่ได้ปรับปรุงให้ประเทศสมาชิก EU สามารถจำกัดหรือห้ามการเพาะปลูก พืชดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศของตนได้ แม้ว่าพืชเหล่านั้นจะผ่านการรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพจากสหภาพยุโรปแล้วก็ตาม โดยให้อยู่บนพื้นฐาน ทางกฎหมายภายในของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาระหว่างประเทศสมาชิก EU และประเทศคู่ค้าที่ต่อต้านการห้ามปลูกพืชจีเอ็ม

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

8 ก.ค. 54

China Ratifies 7 GM Crops

ประเทศจีนได้รับรองความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว 7 ชนิด โดยขณะนี้มีการทดลองปลูกพืชจีเอ็มในแปลงขนาดเล็กแล้ว อาทิ มะเขือเทศจีเอ็มชะลอการสุก ข้าวโพดจีเอ็มที่สามารถผลิตไฟเตส ข้าวจีเอ็มต้านทานศัตรูพืช และพริกจีเอ็มต้านทานโรค

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

17 มิ.ย. 54

GM Initiative in Beijing Starts at Supermarkets

วันที่ 1 มิถุนายน 2554 สำนักเกษตรปักกิ่งได้เริ่มปฏิบัติการตามแนวทางพืชดัดแปลงพันธุกรรม โดยใช้ห้างสรรพสินค้าเป็นสถานที่แรกในการจัดกิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการติดฉลากบนผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรม และให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรทำหน้าที่ให้ความรู้และตอบคำถามเกี่ยวกับ GMOs และความปลอดภัยของ GMOs

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

ข่าวเก่า...

[ มกราคม - ตุลาคม 2552 ] [ ตุลาคม 2551]