พืชดัดแปลงพันธุกรรม

รับผิดชอบโดยกรมวิชาการเกษตร มีวัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมการนำเข้าพืชจากต่างประเทศ ด้วยการ ประกาศชื่อพืช ศัตรูพืช หรือพาหะ ให้เป็นสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งกำกัด ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร และควบคุมพืช จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ (beneficial organisms) บางชนิด เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง ซึ่งเป็นนิยามของ คำว่า “พืช” ในกฎหมายฉบับนี้ กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มีเจตนาในการควบคุมพืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นการเฉพาะ แต่ได้นำมาใช้ควบคุมการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมโดยตรงและไม่สามารถควบคุมพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่พัฒนาขึ้นมาภายในประเทศได้

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

รับผิดชอบโดยกรมวิชาการเกษตร กำหนดให้พืชที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ที่จะขอรับความ คุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ จะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ หรือ สวัสดิภาพของประชาชนก่อน

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม

รับผิดชอบโดยกรมปศุสัตว์สามารถนำมาอนุโลมใช้ในการออกระเบียบข้อบังคับในการนำเข้าหรือส่งออกปศุสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมได้นอกเหนือไปจากใช้ควบคุมจุลินทรีย์ดัดแปลง พันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดสัตว์

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

กรมประมงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ กำกับ ดูแล การนำเข้าสัตว์น้ำและพันธุ์ไม้น้ำตามที่ได้มีพระราชกฤษฎี การระบุชื่อทุกชนิด ที่ห้ามบุคคลครอบครอง นำเข้าหรือปล่อยสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ตามชนิดของสัตว์น้ำที่กำหนด ไว้ในพระราชกฤษฎีกาในการนำเข้าสัตว์น้ำจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาต นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2547 ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 ที่ได้กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอน ให้กับผู้ประสงค์จะนำเข้าสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะนำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์ใดจะต้องยื่นคำขอ อนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมประมง เพื่อให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตก่อนในกรณีที่จะนำสัตว์น้ำดัดแปลง พันธุกรรมเข้ามาคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมงจะเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ให้นำเข้า พร้อมเงื่อนไขประกอบการอนุญาตให้ผู้นำเข้าถือปฏิบัติต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม

รับผิดชอบโดยกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการป้องกันโรคระบาด เขตปลอดโรคระบาด เขตโรคระบาด ต่างๆ ตลอดจนการควบคุมการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ และด่านกักสัตว์ด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

รับผิดชอบโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้นิยามคำว่า การบำบัดโรคสัตว์ หมายถึง การกระทำใดๆ อันกระทำโดยตรงต่อร่างกายสัตว์ เพื่อตรวจหรือรักษาโรคและหมายความรวมถึงการป้องกันโรค \การกำจัดโรค การตบแต่งทางศัลยกรรม การตอนหรือการผสมเทียมด้วยไม่ได้ระบุถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมโดยตรง แต่ในขั้นตอนการบำบัดโรคสัตว์ อาจจะมีการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการกำจัดโรค หรือนำมากระทำการใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ เช่น การฆ่าเชื้อ หรือการปลูกถ่ายเซรุ่มหากจำเป็นต้องใช้สิ่งมีชีวิต ดัดแปลงพันธุกรรมต้องใช้ความระมัดระวังมิให้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านั้นหลุดสู่สภาพแวดล้อมหรือก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อ สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

รับผิดชอบโดยกรมปศุสัตว์ เชื้อโรคมีความหมายว่า เชื้อจุลินทรีย์ เชื้ออื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือผลิตผลจากเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้ออื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดข้อห้าม มิให้ผู้ใดทำการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านเชื้อโรค หากไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี เนื่องจากเชื้อโรคนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยพืช สัตว์ และคนได้ เชื้อจุลินทรีย์ หรือผลผลิต จากเชื้อจุลินทรีย์นั้น อาจรวมถึงเชื้อจุลินทรีย์ หรือผลผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ก็เป็นได้

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

สินค้าที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

รับผิดชอบโดยกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการป้องกันโรคระบาด เขตปลอดโรคระบาด เขตโรคระบาด ต่างๆ ตลอดจนการควบคุมการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ และด่านกักสัตว์ด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

รับผิดชอบโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้นิยามคำว่า การบำบัดโรคสัตว์ หมายถึง การกระทำใดๆ อันกระทำโดยตรงต่อร่างกายสัตว์ เพื่อตรวจหรือรักษาโรคและหมายความรวมถึงการป้องกันโรค \การกำจัดโรค การตบแต่งทางศัลยกรรม การตอนหรือการผสมเทียมด้วยไม่ได้ระบุถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมโดยตรง แต่ในขั้นตอนการบำบัดโรคสัตว์ อาจจะมีการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการกำจัดโรค หรือนำมากระทำการใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ เช่น การฆ่าเชื้อ หรือการปลูกถ่ายเซรุ่มหากจำเป็นต้องใช้สิ่งมีชีวิต ดัดแปลงพันธุกรรมต้องใช้ความระมัดระวังมิให้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านั้นหลุดสู่สภาพแวดล้อมหรือก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อ สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

รับผิดชอบโดยกรมปศุสัตว์ เชื้อโรคมีความหมายว่า เชื้อจุลินทรีย์ เชื้ออื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือผลิตผลจากเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้ออื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดข้อห้าม มิให้ผู้ใดทำการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านเชื้อโรค หากไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี เนื่องจากเชื้อโรคนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยพืช สัตว์ และคนได้ เชื้อจุลินทรีย์ หรือผลผลิต จากเชื้อจุลินทรีย์นั้น อาจรวมถึงเชื้อจุลินทรีย์ หรือผลผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ก็เป็นได้

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมแปรรูปเป็นอาหาร

รับผิดชอบโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หากอาหารที่เป็น หรือมีส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมด้วย สามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดอาหารควบคุมเฉพาะ หรือกำหนดอาหาร ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย หรือกำหนดประเภทและชนิดอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย ซึ่งจะต้องมีฉลาก

รายละเอียดเพิ่มเติม>>

รับผิดชอบโดยกรมปศุสัตว์ กำหนดให้มีการควบคุมอาหารสัตว์ โดยประกาศชื่อ ประเภท ชนิดหรือ ลักษณะของอาหารสัตว์ที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ให้นำเข้าเพื่อการจำหน่ายอาจประกาศห้ามนำเข้าเพื่อขายอาหารสัตว์ที่เป็นผลผลิตมาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดี มอบหมาย นอกจากนี้อาจจะกำหนดให้มีการติดฉลากสามารถที่จะนำมาใช้กับอาหารสัตว์ที่เป็นผลผลิตมาจาก สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมได้

รายละเอียดเพิ่มเติม>>