กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งออกพืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically modified plants) ดังนี้
การส่งออกปศุสัตว์ และสินค้ารวมถึงผลิตผลปศุสัตว์ มีกฎระเบียบข้อบังคับควบคุมโดยกรมปศุสัตว์ ที่สามารถอนุโลมมาใช้ควบคุมในส่วนของสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically modified animals) ได้ เช่น พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542 การส่งสัตว์น้ำทั้งที่มีชีวิตหรือซากสัตว์น้ำออกนอก ราชอาณาจักร นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 แล้ว ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของกรมประมง โดยต้องยื่นขอรับใบอนุญาตส่งสัตว์น้ำหรือซากสัตว์น้ำออกราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจสัตว์น้ำ หรือสำนักงานประมงจังหวัด ตามแบบคำขอที่กำหนด ในกรณีที่เป็นสัตว์น้ำ ที่ดัดแปลงพันธุกรรม จะต้องได้รับ อนุญาตจากส่วนอนุญาตและจัดการประมง สำนักบริหารจัดการด้านการประมง โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสถาบัน ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมงก่อน โดยจะแจ้งให้ผู้ขออนุญาต ทราบ เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกได้ ผู้ขออนุญาต จะต้องยื่นเอกสาร ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ด่านตรวจสัตว์น้ำ ณ จุดส่งออกล่วงหน้าก่อน 1 วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องก่อนจึงจะอนุญาตให้ดำเนินการส่งออกได้
ถ้าต้องการให้มีการรับรองในด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีส่วนประกอบจากการแปรรูปสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organisms: LMO-FFPs) ในปัจจุบัน มีห้องปฏิบัติการเพื่อบริการตรวจสอบ อยู่ 4 แห่ง คือ
อ้างอิง สำนักงานนโยบายและและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. รายงานกรอบงานแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของประเทศไทย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. 150 หน้า.