15 ม.ค.57

EFSA ตีพิมพ์ว่า ถั่วเหลือง GM 305423 ปลอดภัยไม่ต่างไปจากถั่วเหลืองสายพันธุ์คู่เปรียบ

The Panel on Genetically Modified Organisms of the European Food Safety Authority (EFSA GMO Panel) ตีพิมพ์ความเห็นทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมสายพันธุ์ GM 305423 ว่ามีความปลอดภัยไม่ต่างไปจากถั่วเหลืองสายพันธุ์คู่เปรียบทั้งด้านผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และ สิ่งแวดล้อมซึ่งได้เปรียบเทียบองค์ประกอบ ,ผลผลิตทางการเกษตร และลักษณะฟีโนไทป์ของถั่วเหลือง GM 305423 กับ ถั่วเหลืองสายพันธุ์คู่เปรียบ และถั่วเหลือง non-GM รวมทั้งประเมินความแตกต่างทางสถิติระหว่างถั่วเหลือง 305423 และ ถั่วเหลืองสายพันธุ์คู่เปรียบ โดยสรุป The EFSA GMO Panel EFSA พิจารณาว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ จากแนวทางของ The EFSA GMO Panel และความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์จากประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปแสดงให้เห็นว่า ถั่วเหลือง GM 305423 ปลอดภัยเช่นเดียวกับถั่วเหลืองสายพันธุ์คู่เปรียบ

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

18 ธ.ค.56

รัสเซียจะอนุญาตให้เพาะปลูกพืชเทคโนชีวภาพในปี 2014

รัสเซียจะอนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืชเทคโนชีวภาพในปี 2014 ตามคำสั่งพระราชกฤษฎีกาหมายเลข 839 โดยสามารถเริ่มดำเนินการ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2014 เป็นต้นไปอย่างไรก็ตามการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเมล็ดพันธุ์พืชเทคโนชีวภาพในเชิงพาณิชย์จะยังคงใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง หัวหน้าการวิจัยตลาดของ บริษัท Bunge ให้ข้อมูลว่าการเริ่มต้นเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองเทคโนชีวภาพอาจเกิดขึ้นในปี 2016-2017

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

18 ธ.ค.56

ฮังการีให้สัตยาบัน พิธีสารเสริมนาโงยา –กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดใช้

ฮังการีให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีพิธีสารเสริมนาโงยา –กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดใช้ตามพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2013 การเข้าร่วมของฮังการีในครั้งนี้นับว่าเดินมาถึงครึ่งทางของการนำไปสู่การบังคับใช้พิธีสารเสริมเมื่อมีประเทศให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีพิธีสารเสริมครบ 40 ประเทศ พิธีสารเสริมมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยการให้กฎระเบียบระหว่างประเทศ และวิธีการ สำหรับมาตรการการตอบสนองในกรณีที่มีความเสียหายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

4 ธ.ค.56

การหารือเกี่ยวกับมะละกอ GM ในผลไม้กระป๋อง

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผักและผลไม้ สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตสับปะรด และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป (TFPA) ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(BIOTEC) ณ ห้องประชุมสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อหารือถึงปัญหา ที่ตรวจพบมะละกอ GM ในผลไม้กระป๋องส่งออกที่ไปยังประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป จากการหารือแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ประชุมได้สรุปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาระยะสั้น และระยะยาว ดังนี้ แนวทางระยะสั้น ประกอบด้วย จัดให้มีห้องปฎิบัติการที่ผ่านการรับรองในการตรวจวิเคราะห์ ชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) และให้มีการรับรองมะละกอ non-GM โดยหน่วยงานของไทย สำหรับแนวทางระยะยาวครอบคลุมถึงการกำหนดเขตพื้นที่ปลูกมะละกอ non-GM จัดให้มีระบบการอยู่ร่วมกันในการปลูก non-GM และการเจรจาต่อรองกับคู่ค้าสำหรับการยอมรับมะละกอ GM เช่นเดียวกับการยอมรับมะละกอพันธุ์ฮาวายในตลาดญี่ปุ่น

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

11 ก.ย.56

องค์การความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ทบทวนกลยุทธ์ที่ครอบคลุมถึงการประเมินพืชจีเอ็ม

องค์การความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้มีการทบทวนเอกสารทางวิทยาศาสตร์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันและกรอบการประเมินความเสี่ยงสำหรับความปลอดภัยของอาหารคนและอาหารสัตว์ที่เป็นพืชจีเอ็ม โดยวิธีการเปรียบเทียบที่ถูกนำมาใช้อาจจะไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ สำหรับกรณีที่เป็นลักษณะของการนำพืช GM ซึ่งได้รับการปรับเปลี่ยนในองค์ประกอบภายนอกและสรีรวิทยาของพืชอย่างมีนัยสำคัญ เข้าสู่การวางตลาด โดย EFSA ได้นิยามให้พืชจีเอ็มที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากเดิม (novel trits) เป็นพืชที่ได้รับการปรับเปลี่ยนความเข้มข้นขององค์ประกอบหรือการเก็บรักษาคุณค่าทางโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา / ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชและการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มข้นของสาร metabolite เพื่อให้พืชสามารถทนต่อความเครียดได้

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

25 ก.ค.56

องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในระดับภูมิภาค เรื่อง ความปลอดภัยทางชีวภาพ ในกรุงเทพฯ

สำนักงานองค์การอาหารและการเกษตรในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (RAP) ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ได้มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและเสริมสร้างสมรรถนะด้านความปลอดภัยทางชีวภาพระดับชาติในเอเชีย เมื่อวันที่ 17-20 มิถุนายน 2556 ณ กรุงเทพมหานคร การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (LMOs) ของประเทศสมาชิกในประเด็นต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและกรอบการกำกับดูแลและการความปลอดภัยของ LMOs และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือในระดับภูมิภาค ในเรื่องของความปลอดภัยทางชีวภาพและ LMO รวมทั้ง การดำเนินงานและบริหารจัดการ Asian Bionet นอกจากนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการยังได้ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงกับองค์กรริเริ่มอื่น ๆ เช่น ICGEB-UNIDO, องค์การไอซ่า (ISAAA), และ PRRI เป็นต้น

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

26 มิ.ย.56

องค์การอาหารและยาของฟิลิปปินส์ ได้ให้ความมั่นใจกับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพืชดัดแปลงพันธุกรรม

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของฟิลิปปินส์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศ โดยเห็นย้ำว่าผลิตภัณฑ์อาหารGM ทั้งหมดที่มีอยู่ในท้องตลาดได้ผ่านการประเมินความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งป็นไปตามการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านอาหาร Alimentarus ของสหประชาชาติ FAO / WHO CODEX ที่มาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และแนวทางการดำเนินการของการประเมินความปลอดภัยของอาหาร จากอาหารที่ได้จาก Recombinant DNA พืช ซึ่งที่ปรึกษาเน้นว่า ผลิตภัณฑ์อาหารGM ทั้งหมด ในท้องตลาดต่างประเทศมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร และมีความปลอดภัยเท่ากับอาหารจากพืชปกติ (conventional crops) องค์การอาหารและยา ยังระบุด้วยว่าพืชจีเอ็มที่มีอยู่ในปัจจุบันหลายชนิดยังอยู่ระหว่างการทดสอบ โดยพืชจีเอ็มเหล่านี้จะได้รับการประเมินเป็นกรณีๆ ไป ตามแนวทาง CODEX Alimentarius โดยจะมีการประเมินความปลอดภัย ได้แก่ ระดับความเป็นพิษ, การเกิดภูมิแพ้และคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงการประเมินผลด้านโภชนาการอื่นๆ ตามที่ได้รับการร้องขอ องค์การอาหารและยาเน้นการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ สำหรับระบบการประเมินผลบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ CODEX Alimentarium โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับการใช้ข้อมูลและข้อมูลจากการทดลองภาคสนามและการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

22 พ.ค.56

องค์การเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรองการทดสอบสับปะรดสีชมพู

คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรมแห่งประเทศอินโดนีเซียได้อนุมัติให้การรับรองอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมเป็นครั้งแรกของโลกและคาดว่าจะมีการปลูกเชิงการค้าได้ในปี 2557

อ้อยดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง PT Perkebunan Nusantara ศูนย์วิจัยการปลูกอ้อยแห่งอินโดนีเซียและทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย the State University of Jember ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของรัฐชวา

ดร. Bambang Purwantara หนึ่งในคณะกรรมการฯ ได้กล่าวว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่รับรองพืชเทคโนโลยีชีวภาพต่างได้ให้การรับรองอ้อยดัดแปลงพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติทนแล้งทุกหน่วยงาน แล้ว

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

15 พ.ค.56

องค์การเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรองการทดสอบสับปะรดสีชมพู

องค์การเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USAD) ได้อนุญาตให้มีการทดสอบสับปะรดเทคโนโลลยีชีวภาพ สายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่า "Rose" เนื่องจากมีสีชมพูคล้ายสีกุหลาบ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Del Monte Fresh Produce ใน Costa Rica บริษัทจะต้องดำเนินการทดสอบให้เสร็จสมบูรณ์และจะต้องผ่านการพิจารณาด้านความปลอดภัยทางด้านอาหารจากองค์กรอาหารและยาก่อนที่จะจำหน่ายในเชิงการค้า

 2 1 รายละเอียดเพิ่มเติม...

20 มี.ค.56

สำนักควบคุมเทคโนโลยีด้านยีนของออสเตรเลีย ออกใบอนุญาตให้มีการทดสอบภาคสนามข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ดัดแปลงพันธุกรรม

สำนักควบคุมเทคโนโลยีด้านยีนของออสเตรเลีย ได้อนุญาตให้มีการทดสอบภาคสนามข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงองค์ประกอบและสารอาหารในเมล็ดพืชให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การทดสอบภาคสนามครั้งนี้ได้ถูกวางแผนปลูก 1 ฤดูการ ในพื้นที่ 1 แห่ง ของพื้นที่ราชการของเมือง Narrabri รัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ถึง เมษายน 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินชีวมวลและจำนวนผลผลิต องค์ประกอบโปรตีนในเมล็ดพืช คุณสมบัติของแป้งและผลิตผล

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

ข่าวเก่า...

[ มกราคม - ตุลาคม 2552 ] [ ตุลาคม 2551]