1 มิ.ย.55

เม็กซิโกอนุมัติการทดสอบนำร่องสำหรับข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม

สำนักงานเลขาธิการเกษตร ปศุสัตว์การพัฒนาชนบท ประมง และอาหาผ่านทางศูนย์บริการสุขภาพแห่งชาติ ความปลอดภัยด้านอาหาร และคุณภาพอาหาร (SENASICA) ในประเทศเม็กซิโกประกาศอนุมัติทดสอบข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม2 แปลงจากที่รอผลการพิจารณามานานการทดสอบจะเกิดขึ้นที่เมือง Sinaloa บนพื้นที่ 63.48 เฮกตาร์ จากจำนวน 38 คำขออนุญาตเพื่อการทดสอบสำหรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่หลากหลาย ในพื้นที่ต่างๆ ของเม็กซิโก เช่น รัฐตาเมาลีปัสนายาริตซีนาโลอาซบาจาคาลิฟอร์เนีย เซอร์ และโซโนรา จนถึงขณะนี้รัฐบาลเม็กซิโกอนุญาตเพียงไม่กี่คำร้องเท่านั้นสำหรับการทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรม

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

18 พ.ค. 55

ศูนย์พืชเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติของเกาหลีใต้ ได้จัดการส่งเสริมการค้าพืชเทคโนโลยีชีวภาพ

โครงการ The Next-Generation BioGreen 21 จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยบริหารการพัฒนาทางด้านการเกษตร (Rural Development Administration - RDA) ของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่รับผิดชอบด้านงานวิจัยทางการเกษตรและการส่งเสริมการเกษตร วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการยกระดับการเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศผ่านการประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ

การพัฒนาและการค้าพืชจีเอ็มอยู่ภายใต้การดูแลโดยศูนย์พืชเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for GM Crops - NCGC) ซึ่งเปิดตัวในปีค.ศ. 2011 และเป็นหนึ่งใน 7 โปรแกรมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติของ โครงการ The Next-Generation BioGreen 21

โครงการวิจัยของ NCGC มุ่งเน้นในเรื่อง ข้าว ผักกาดขาว พริกไทย ถั่วเหลือง ไม้ดอกฯลฯ และมีเป้าหมายเพื่อหายีนที่มีหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ การพัฒนา สายพันธุ์ GM และการประเมินความปลอดภัย การบริหารจัดการเทคโนโลยี และอำนวยความสะดวกด้านการค้าของพืช ขณะนี้เพืชจีเอ็ม ได้แก่ ข้าวทนภัยแล้ง ข้าวต้านทานสารกำจัดวัชพืช, พริกแดงต้านทานไวรัส, แคคตัสต้านทานไวรัส และหญ้าต้านทานสารกำจัดวัชพืช อยู่ระหว่างการประเมินความปลอดภัย

ทั้งนี้โครงการทั้งหมดของ NCGC ดำเนินการโดย 47 ทีมวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัย 27 แห่ง สถาบันการวิจัยเอกชน 12 แห่ง บริษัท 6 แห่ง และสถาบันการวิจัยในต่างประเทศ 2 แห่ง

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศเกาหลีสามารถติดต่อ Dr. Soo-Chul Park, director of the Korea Biotechnology Information Center, NCGC at rdapark@hanmir.com

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

11 พ.ค. 55

ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารดัดแปลงพันธุกรรม (อาหารจีเอ็ม) ในเกาหลีใต้

Renee Kim จากมหาวิทยาลัยฮันยางในประเทศเกาหลีใต้ เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับการสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ที่มีต่ออาหารจีเอ็ม โดยใช้แบบจำลองเชิงปริมาณที่ระบุปัจจัยที่สำคัญของพฤติกรรมการเลือกของผู้บริโภคอาหารจีเอ็ม

ผลการสำรวจพบว่า 'สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และการรับรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารจีเอ็ม เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อความตั้งใจซื้ออาหารจีเอ็มของผู้บริโภค คือ คุณลักษณะที่ดี เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพทางโภชนาการ พบว่ามีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อทัศนคติทางบวกของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารจีเอ็ม ในขณะที่การรับรู้ถึงความเสี่ยงในอาหารจีเอ็ม การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากอาหารจีเอ็ม พบจำนวนกลุ่มผู้บริโภคมีทัศนคติต่ออาหารจีเอ็มในเชิงลบ ดังนั้นรายงานดังกล่าวแนะนำให้มีการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารจีเอ็ม ซึ่งจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะขจัดความกังวลของผู้บริโภคอาหารจีเอ็มได้

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

4 พ.ค. 55

ออสเตรเลียออกใบอนุญาต OGTR สำหรับผู้ที่ถูกจำกัด และควบคุมการปลดปล่อยฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม

สำนักควบคุมเทคโนโลยีด้านยีนของออสเตรเลียออกใบอนุญาตสำหรับจำกัดและควบคุมการปลดปล่อยฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม ให้กับบริษัท Bayer CropScience Pty Ltd หลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณาเกี่ยวกับการประเมินและการบริหารจัดการความเสี่ยง เมื่อเดือนเมษายน 2555 โดยฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติต้านทานแมลงและทนต่อสารปราบวัชพืช 11 สายพันธุ์จะถูกนำไปทดสอบภาคสนามในหกพื้นที่ ใน Narrabri Shire (NSW), Wyndham-East Kimberly (WA), and Central Highlands (Qld), ระหว่าง พ.ค.2012 – พ.ค.2015

การทดสอบภาคสนามครั้งนี้จะเป็นการประเมินเชิงการเกษตรของพันธุ์ฝ้ายจีเอ็ม ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ และการผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับใช้ในการศึกษาต่อไปหรือฝ้ายจีเอ็มดังดล่าว จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์หรือสัตว์

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

4 พ.ค. 55

การทดลองภาคสนามเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตของสวนยูคาลิปตัสของ FUTURAGENE จะเสร็จสมบูรณ์ในบราซิล

บริษัท Futuragene ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านการปลูกพืชที่มีเนื้อไม้ (woody crop) ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการทดสอบภาคสนามเป็นครั้งที่ 4 เพื่อทดลองการเพิ่มอัตราการผลิตของไม้ยูคาลิปตัสดัดแปลงพันธุกรรม โดยจะมีการประเมินคุณสมบัติเชิงการเกษตรและความปลอดภัยทางชีวภาพ การทดสอบภาคสนามครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญสุดท้ายของการดำเนินการ หลังจากที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2006 และบริษัทมุ่งหวังว่าหากประสบความสำเร็จจะนำข้อมูลเสนอต่อ คณะกรรมธิการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (The National Biosafety Technical Commission – CTNBio) ประเทศบราซิล เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพิ่มอัตราการผลิตยูคาลิปตัสของประเทศต่อไป

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

16 มี.ค. 55

องค์การไอซ่าจัดประชุมเชิงปฏิบัตการสำหรับเครือข่ายข้อมูลด้านเทคโนชีวภาพ

ผู้ฝึกหัดสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์จำนวน 44 คน จากภูมิภาคเอเชีย (ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม) ภูมิภาคแอฟริกา (ได้แก่ อียิป เคนยา และอูกานดา) และภูมิภาคอเมริกาใต้ (ได้แก่ เปรู) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการริเริ่มสำหรับการเพิ่มความตระหนักในเรื่องพืชเทคโนชีวภาพ ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ซึ่งจัดโดยองค์การไอซ่า (ISAAA) และศูนย์ข้อมูลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพประเทศไทย

ผู้เข้าร่วมประชุมได้เน้นถึงการปรับปรุงกลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียที่จะยอมรับหรือใช้เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงการทำภาพยนต์แอนิเมชั่น การ์ตูน โปรแกรมวิทยุ กิจกรรมสำหรับเด็กๆ วารสารข่าว และการเยี่ยมชมแปลงเกษตรกร

ผู้แทนจากประเทศเคนยาได้ยกตัวอย่างหนังสือ “Adventures of Mandy and Fanny in Kenya: the Future of Sustainable Agriculture” ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดยทีม AfriCenter และได้รับการพัฒนามาจากหนังสือการ์ตูนที่องค์การไอซ่า (เอเชียใต้) สาธารณรัฐอินเดีย จัดทำเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้

การประชุมครั้งน้มุ่งเน้นถึงพลวัตด้านวิทยาศษสตร์และสังคมที่ส่งผลต่อการยอมรับและปรับตัวต่อเทคโนโลยี ซึ่งจำเป็นต้องริเริ่มให้มีการแบ่งปันความรู้เป็นลำดับแรก เพื่อลดการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเป้นการประตุ้นให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

9 มี.ค. 55

บริษัท Dow AgroSciences (ประเทศแคนาดา) ยื่นขอปลดปล่อยถั่วเหลืองจีเอ็มสู่สิ่งแวดล้อมในแคนาดา

สำนักตรวจสอบอาหารแห่งแคนาดา (Canadian Food Inspection Agency - CFIA) กระทรวงสาธารณสุข ประเทศแคนาดา ได้ออกประกาศว่า บริษัท Dow AgroSciences (ประเทศแคนาดา) ผู้พัฒนาถั่วเหลืองจีเอ็มสายพันธุ์ DAS-68416-4 ได้ยื่นขอปลดปล่อยพืชดังกล่าวสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อใช้สำหรับการปศุสัตว์ อาหารสัตว์ และอาหารในแคนาดา โดยเอกสารที่เกี่ยวข้อง สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของกระทรวง

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

2 มี.ค. 55

เคนยาจะปลดปล่อยฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมในปี ค.ศ. 2014

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยด้านการเกษตรแห่งเคนยา (Kenya Agricultural Research Institute - KARI) กำลังรอผลการอนุญาตจากสำนักงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติให้ทดสองฝ้ายจีเอ็มในภาคสนาม นาย Charles Waturu ผู้อำนวยการศูนย์ Thika แห่งสถาบันวิจัยดังกล่าวได้อ้างว่า จากผลการศึกษาได้พิสูจน์ว่าฝ้ายจีเอ็มสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และจะช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และจะช่วยลดการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชจาก 12 ครั้ง เหลือเพียง 3 ครั้ง และศูนย์ Thika ได้ระบุว่า ฝ้ายสายพันธุ์ 06k485, 06k486 และ 06k487 เป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดที่ได้พัฒนาเป็นฝ้ายจีเอ็ม และมุ่งขยายพันธุ์เพื่อให้เคนยาเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับภูมิภาคแข่งขันในตลาดการค้าให้ได้ในปี ค.ศ. 2014ที่สำคัญนี้อีกครั้ง

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

11 ม.ค. 55

ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้กับมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม

กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ประกาศว่ารัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติให้มะละกอสายพันธุ์ Rainbow มีการนำเข้าเชิงพาณิชย์ไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ มะละกอสายพันธุ์ Rainbow เป็นมะละกอที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานต่อไวรัสจุดวงแหวนมะละกอ “การเปิดตลาดในญี่ปุ่นเป็นข่าวที่ดีสำหรับผู้ผลิตมะละกอในฮาวาย และเป็นข่าวที่ดีกว่าสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรของอเมริกา”Michael Scuse, รักษาการผู้ช่วยเลขาศูนย์บริการฟาร์มและการเกษตรต่างประเทศกล่าวว่า “ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโอบามา,กระทรวงเกษตรของสหรัฐได้ขยายตลาดอย่างต่อเนื่องสำหรับการส่งออกสินค้าของสหรัฐในต่างประเทศ ได้ทำงานเชิงรุกเพื่อทำลายการกีดกันทางการค้า และช่วยเหลือธุรกิจสหรัฐด้วยทรัพยากรที่จำเป็นในการเข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลก ประกาศนี้จะทำให้มั่นใจว่ามะละกอที่ฮาวายผลิตจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจการเกษตรของสหรัฐโดยการขยายการส่งออก การสร้างงานและสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันของประเทศ” ญี่ปุ่นเคยเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับมะละกอฮาวายที่มียอดขายประจำปีถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี1996 เมื่อมีการอนุมัติให้มีการนำเข้ามะละกอพันธุ์ Rainbowผู้ผลิตมะละกอของสหรัฐหวังที่จะฟื้นตลาดที่สำคัญนี้อีกครั้ง

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

6 ม.ค. 55

เมือง Boulder อนุญาตให้มีการปลูกข้าวโพดและชูการ์บีทเทคโนชีวภาพ

คณะกรรมการของเมือง Boulder ในรัฐโคโลราโดประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้มีการปลูกพืชเทคโนชีวภาพ นอกเหนือจากการอนุญาตให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเทคโนชีวภาพสายพันธุ์ต้านทานต่อแมลงและสารกำจัดวัชพืชอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ ยังมีการอนุมัติให้ปลูกชูการ์บีทที่ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืชราวด์อัพอีกด้วย คณะกรรมการฯ กำลังจะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ปลูกพืชเทคโนชีวภาพลักษณะอื่น ๆ เช่น ทนแล้ง ซึ่งจะมีการพัฒนาในอนาคตด้วยหรือไม่

 รายละเอียดเพิ่มเติม...

ข่าวเก่า...

[ มกราคม - ตุลาคม 2552 ] [ ตุลาคม 2551]