สถานภาพ ปี 2555
ในปี 2555 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศกำลังพัฒนามีพื้นที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพมากกว่าร้อยละ 52 ของพื้นที่ที่ ปลูกพืชเทคโนชีวภาพทั่วโลกในปี 2555

- สหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศผู้นำ จากการมีพื้นที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพที่มากถึง 69.5 ล้านเฮคเตอร์ ผลกระทบจากความแห้งแล้งในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2555 ทำให้สูญเสียผลผลิตข้าวโพดไปร้อยละ 21 และผลผลิตถั่วเหลืองร้อยละ 12
- บราซิลเป็นประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนการปลูกพืชเทคโนชีวภาพของโลก มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นมากกว่าประเทศอื่นใดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 หรือ 6.3 ล้านเฮคเตอร์ จากปี 2554 ทำให้มีพื้นที่ปลูกทั้งหมดเป็น 36.6 ล้านเฮคเตอร์
- แคนาดามีพื้นที่ปลูกคาโนลาทั้งหมด 8.40 ล้านเฮคเตอร์ ในจำนวนนี้ร้อยละ 97.5 ปลูกคาโนลาเทคโนชีวภาพ
- อินเดียปลูกฝ้ายบีทีในพื้นที่ 10.80 ล้านเฮคเตอร์ คิดเป็นอัตราการยอมรับที่ร้อยละ 93 รายได้ของฟาร์มที่เพิ่มขึ้นจากการปลูกฝ้ายบีทีคิดเป็นจำนวนทั้งหมด 378 พันล้านบาทในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2545-2554 และเพิ่มขึ้น 20 พันล้านบาท เฉพาะในปี 2554 เพียงปีเดียว
- ทวีปแอฟริกายังมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศแอฟริกาใต้มีพื้นที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพเพิ่มขึ้น 6 แสนเฮคเตอร์ ทำให้มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 2.9 ล้านเฮคเตอร์ จำนวนประเทศในทวีปแอฟริกาที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพ มีทั้งหมด 4 ประเทศ คือ ซูดาน แอฟริกาใต้ เบอร์คินา-ฟาโซ และอียิปต์
- ประเทศในสหภาพยุโรป 5 ประเทศ (สเปน โปรตุเกส เช็ก สโลวาเกีย และโรมาเนีย) ยังคงปลูกข้าวโพดบีที ในพื้นที่ทั้งหมด 129,071 เฮคเตอร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 คิดเป็น ร้อยละ 13 โดยสเปนเป็นผู้นำในสหภาพยุโรป โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดบีที 116,307 เฮกเตอร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 20
จากปี 2539 ถึง 2554 พืชเทคโนชีวภาพได้มีส่วนช่วยในการสร้างความมั่นคงทางอาหารความยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยการเพิ่มผลิตผลพืชคิดเป็นมูลค่า 2,946 พันล้านบาท สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นโดยลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชลงได้ 473 ล้านกิโลกรัมของสารออกฤทธิ์ ในปี 2554 เพียงปีเดียว ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์อ็อกไซด์ลงได้ 23.1 พันล้านกิโลกรัมเท่ากับการนำรถจำนวน 10.2 ล้านคันออกจากถนน อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยลดการบุกรุกป่าได้ถึง 108.70 ล้านเฮคเตอร์ และช่วยบรรเทาความยากจน โดยช่วยเกษตรกรรายย่อยมากกว่า 15 ล้านคนรวมถึงครอบครัวจำนวนทั้งหมดมากกว่า 50 ล้านคน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ยากจนที่สุดในโลก
อ้างอิง ไคล์ฟ เจมส์. 2555. Global Status of Commercialized/ Biotech GM Crops 2012.