พืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically modified plants)

การวิจัยและพัฒนาพันธุวิศวกรรมด้านพืชเพื่อการเกษตรนั้น มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนาในพืชหลายชนิด ได้แก่ ข้าวดัดแปลงพันธุกรรม (ข้าวหอมมะลิ -KHDM 105) ทำโคลน / คัดลอกกับสายพันธุ์ Xa21 ในสหรัฐอเมริกาที่สามารถต้านทานโรคขอบใบแห้งของกรมวิชาการเกษตร มะละกอต้านทาน ต่อโรคจุดวงแหวนที่เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ring spot virus (PRSV) ซึ่งเป็นมะละกอสายพันธุ์ไทย ( โปรตีนห่อหุ้ม เนื้อเยื่อและต้นกล้า ) ของกรมวิชาการเกษตร มะละกอเพื่อชะลอการสุก กล้วยไม้ที่เปลี่ยนการแสดงออกของสี พริกต้านทานต่อโรคใบด่างประ Chilli vein-banding mottle virus (CVbMV) สับปะรดต้านทาน สารกำจัดวัชพืชไบลาฟอส ( bialaphos) และมะเขือเทศ ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง ซึ่งเกิดจากเชื้อ Tomato yellow leaf curl virus (TYLCV) เป็นต้น (ตาราง 1)

นอกจากนั้นมีการพัฒนาพันธุวิศวกรรมในพันธุ์ไม้น้ำ โดยทำการวิจัยและพัฒนาสร้างไม้น้ำเรืองแสง เพื่อสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์สำหรับทางป่าไม้ อยู่ระหว่างการพัฒนาพันธุ์ยูคาลิปตัสเพื่อลดปริมาณลิกนิน ไว้ใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต่อไป

ตาราง 1 สถานภาพการวิจัยและพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทย

 

ชื่อพืช/สายพันธุ์ หน่วยงาน ลักษณะที่ต้องการ สถานภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทย สถานที่และระยะเวลา
สถานภาพ : อยู่ระหว่างการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ
มะละกอ/แขกดำแขกนวล กรมวิชาการเกษตร ต้านทานโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ • ได้ดำเนินการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพในแปลงทดลองขนาดเล็กในพื้นที่สถานีวิจัย ( confined small scale field trial) พบว่า คัดเลือกได้พันธุ์ แขกนวลดัดแปลงพันธุกรรมต้านทานต่อไวรัสสายพันธุ์จากขอนแก่นจันทบุรีราชบุรี เชียงใหม่ และชุมพร ได้ 100% และมีคุณภาพทางการเกษตรดี สถานีวิจัยพืชสวน จ.ขอนแก่น / พ.ศ. 2540
มะละกอ/แขกดำแขกนวล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ต้านทานโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ • ได้ดำเนินการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพในภาคสนามขนาดเล็ก ( smallscale field trial) ผล ขณะนี้พบว่า มะละกอดัดแปลงพันธุกรรมให้ผลผลิตสูงกว่าต้นมะละกอสายพันธุ์เดิม 5 เท่า และมีค่าเฉลี่ยของความหวาน 12 บริกซ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน/พ.ศ. 2540
มะละกอ/แขกดำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ชะลอการสุกของมะละกอ

• ทดสอบสายพันธุ์รุ่นที่ 3 (R3) พบว่าต้านทานไวรัสใบด่างจุดวงแหวนในแปลงทดลอง ขนาดเล็กได้ร้อยละ 100 มีลักษณะพันธุ์ที่ดี ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตมากกว่ามะละกอสายพันธุ์เดิมที่เป็นโรค 40 เท่าเมื่อปลูกทดสอบในแปลงเดียวกัน

• ได้มะละกอถ่ายยีนในรุ่นแรก 20สายพันธุ์ ( line)

• อยู่ระหว่างทดสอบมะละกอดัดแปลงพันธุกรรมรุ่นแรกในกระถางใหญ่ จำนวน10 สายพันธุ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน/พ.ศ. 2542
สถานภาพ : อยู่ระหว่างรอทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ
กล้วยไม้/ขาวสนาน แจคเคอลีนโทมัส และเอียสกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ความหลากหลายของสีดอก • อยู่ระหว่างการพัฒนาให้ได้พืชต้นแบบ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/พ.ศ. 2538
ปาล์มน้ำมัน กรมวิชาการเกษตร พัฒนาดอกสมบูรณ์ • อยู่ระหว่างการพัฒนาให้ได้พืชต้นแบบ สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร
ฝ้าย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต้านทานหนอนเจาะสมอฝ้าย • ได้พืชต้นแบบฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมรุ่นแรก ( R 1 ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน/พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2544
พรรณไม้น้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เรืองแสง • อยู่ระหว่างการพัฒนาให้ได้พืชต้นแบบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน/พ.ศ. 2549
ยูคาลิปตัส มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ลดลิกนิน • อยู่ระหว่างการพัฒนาให้ได้พืชต้นแบบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน/พ.ศ. 2549

 

<< ย้อนกลับ