จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified microorganisms)
สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อผลิตเอนไซม์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เช่น เอนไซม์ไฟเตส (phytase) เอนไซม์ไซลาเนส (xylanase) และ เซลลูโลส (cellulose) เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยทั้งหมดยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ ยังไม่มีการใช้ในอุตสาหกรรมจริงในการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม มีการใช้ Escberontia coli K12 และ Brevubacteriumlactofermentum ดัดแปลงพันธุกรรมในการผลิต ไลซีน (lysine) ในระดับห้องปฏิบัติการ และการใช้ E. coli K12 ในการผลิต แอล-ไลซีน (L – lysine – HCl) เพื่อเป็นอาหารสัตว์ในระดับเป้นการค้า และการใช้ E. coli JM 109 ในการผลิตกรดนิวคลีอิค ซึ่งจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันุกรรมประเภท “ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย ” (Generally regarded as safe–GRAS) โดยสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institute of Health – NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกาการวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ มีการวิจัยโดยใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อผลิตเภสัชภัณฑ์ต่างๆ เช่น ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต ( growth hormone) หรือวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดนก เป็นต้น