สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically modified animals)

ถึงแม้ว่าจะมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้พัฒนาการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลายเรื่อง แต่ขณะนี้ยังไม่มีงานด้านพันธุวิศวกรรมของสัตว์น้ำ ในประเทศไทย งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพด้านการประมง ส่วนใหญ่ในขณะนี้เน้นหนักในเรื่องของพันธุกรรมสัตว์น้ำ เพื่อผลิตสัตว์น้ำที่โตเร็ว แข็งแรง และปลอดโรค ตลอดจนการควบคุมเพศของลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะพันธุ์ให้มีเพศเดียวกันตามที่กำหนดไว้ เช่น การผลิตพันธุ์ปลาตะเพียน และปลาหมอ เพศเมียทั้งหมด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในเรื่องการเก็บรักษาน้ำเชื้อของปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในกลุ่มปลาสวาย เช่น ปลาบึก ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาโมง ปลาเทพา เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเก็บรักษาน้ำเชื้อไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ ตลอดจน ถึงงานวิจัยในการใช้ Biochemical and Molecular Marker โดยเทคนิคต่างๆ เช่น Microsatellite Amplified Fragment Length Polymorphism ( AFLP ), Restriction Fragment Length Polymorphism ( RFLP ) เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและจำแนกกลุ่มประชากรสัตว์น้ำ สำหรับนำมาใช้ในการคัดพันธุ์ โดยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในปลาน้ำจืด เช่น ปลาบึก ปลาหมอ และในปูทะเล เป็นต้นและยังมีงานวิจัยในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์กุ้งก้ามกราม กุ้งกุลาดำ ปลานิลจิตรลดา พันธุ์ไม้น้ำสวยงามอีกด้วยในส่วนของการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาหารมีการวิจัยในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือจากการแปรรูป กุ้งขาวและสัตว์น้ำอื่น การตรวจพิสูจน์ชนิดของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูป เป็นต้น ส่วนงานวิจัยทางด้านโรคสัตว์น้ำ ได้แก่ การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคสัตว์น้ำ ตลอดจนถึงการพัฒนาชุดตรวจสอบโรคสัตว์น้ำและการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการประมง เพื่อกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพ เป็นต้น

 

 

<< ย้อนกลับ