การประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและวิชาการว่าด้วยการรับผิดและการชดใช้ค่าเสีย
(Ad Hoc Open–ended Working Group of Legal and Technical Experts onLiability and Redress : WGLR)
การประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและวิชาการว่าด้วยการรับผิดและการชดใช้ค่าเสียหาย ตามบริบทของพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพได้รับการจัดตั้ง โดยการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารฯ ในการประชุมสมัยที่ 1 เพื่อ : ทบทวนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการรับผิดและการชดใช้ สำหรับความเสียหาย อันเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมข้ามพรมแดน, วิเคราะห์ประเด็นทั่วไปเกี่ยวกับ จากลำดับเหตุการณ์ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นจริง และการประยุกต์ใช้กฎและระเบียบวิธีการระหว่างประเทศว่าด้วยการรับผิดและการชดใช้ต่อลำดับเหตุการณ์ความเสียหายและขยายความทางเลือกสำหรับกฎ และระเบียบวิธีการของการรับผิด และการชดใช้นั้น โดยมีความเห็นที่จะต้องให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2550
มีขึ้นระหว่างวันที่ 25–27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน ในการประชุมครั้งแรกนี้ คณะทำงานฯ ได้รับฟังการนำเสนอว่าด้วยการวิเคราะห์วิทยาศาสตร์และการประเมินความเสี่ยง และความรับผิดชอบของรัฐ และความรับผิดระหว่างประเทศ คณะทำงานฯ ได้ขยายทางเลือก, หนทางเริ่มต้น และประเด็นสำหรับการพิจารณาต่อไปในการขยายรายละเอียดกฎ และระเบียบวิธีการระหว่างประเทศว่าด้วยการรับผิดและการชดใช้ค่าเสียหาย
มีขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา คณะทำงานฯ ได้เน้นที่ร่างเนื้อหาสังเคราะห์ที่ประธานจัดทำขึ้น และมุมมองที่ได้รับจากรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ เกี่ยวกับแนวทางทางเลือก และประเด็นต่างๆ สำหรับการรับผิดและการชดใช้ และได้จัดทำทะเบียนรายการของเกณฑ์ในการวิเคราะห์ประเมินประสิทธิผลของกฎและระเบียบวิธีการใดๆ ที่ได้อ้างถึงภายใต้มาตรา 27 ของพิธีสารฯ
มีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดาคณะทำงานฯ ได้พิจารณาร่างเนื้อหาที่สังเคราะห์มุมมองจากรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ เกี่ยวกับแนวทาง, ทางเลือก และประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรับผิดและการชดใช้ ประธานร่วมของคณะทำงานฯ ได้เสนอแบบพิมพ์เขียวสำหรับข้อมติของสมัชชาภาคีพิธีสารฯ เกี่ยวกฎและระเบียบวิธีการระหว่างประเทศ ในบริบทของการรับผิดและการชดใช้
มีขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ นครมอนทรีออลประเทศแคนาดา คณะทำงานฯ ได้เน้นที่การปรับรายละเอียดของทางเลือกสำหรับกฎและระเบียบวิธีการสำหรับการรับผิดและการชดใช้โดยตั้งอยู่บนผล ที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับแนวทางและทางเลือก ในการรับผิดและการชดใช้ ภายใต้มาตรา 27 ของพิธีสารฯ ผู้เข้าร่วมประชุมได้เน้นที่การปรับรวมทางเลือก สำหรับเนื้อหา ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับความเสียหาย, แนวทางการบริหารจัดการ และ การรับผิดทางแพ่ง โดยผลที่ได้คือเนื้อหาที่ได้รับการประนีประนอมแล้ว เพื่อใช้ในการเจรจาต่อรองต่อไป
มีขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ณ เมืองคาร์ตาเฮนา ประเทศโคลอมเบียคณะทำงานฯ ได้ทำการปรับรายละเอียดของทางเลือกสำหรับกฎและระเบียบวิธีการสำหรับการรับผิดและการชดใช้ต่อ โดยตั้งอยู่บนร่างเนื้อหาที่ประธานร่วมของคณะทำงานฯ ได้รวบรวมและแก้ไขแล้วผู้เข้าร่วมประชุมเห็นชอบกับองค์ประกอบหลัก รวมถึงคำจำกัดความของความเสียหายและทางเลือกที่เหลือ ซึ่งได้ทำการ ปรับรวมให้กระชับขึ้นแล้ว คณะทำงานฯ ได้มีมติให้จัดการประชุมกลุ่มเพื่อประธาน (Friends of theChair Group) ขึ้นก่อนการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 4 เพื่อพิจารณา ประเด็นสำคัญต่างๆ รวมถึงมาตรฐานของการรับผิด, สาเหตุของความเสียหาย และการสรรหาเครื่องมือ