การประชุมภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 5
(The Fifth Meeting of the Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity serving as the Meeting of the Parties to the Cartagena Protocol on Biosafety: COP-MOP 5)

มีขึ้นระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม พ.ศ.2553 ณ เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น ต่อเนื่องกันกับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 10 มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,600 คน โดยเป็นผู้แทนจากประเทศภาคีพิธีสารฯ, รัฐบาลอื่นๆ, หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ, องค์กรระหว่างรัฐบาล, องค์กรพัฒนา เอกชน (NGOs), สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรมจากทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้ส่งผู้แทน จากกรมประมงและกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยประสานงานกลางแห่งชาติของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเข้าร่วมการประชุม ในการประชุมครั้งนี้สมัชชาภาคีพิธีสารฯ ได้รับรองพิธีสารเสริมนาโงยา-กัวลาลัมเปอร์ ว่าด้วยการรับผิดและชดใช้ค่าเสียหาย ที่เป็นผลจากการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม รวมทั้ง 16 ข้อมติ ได้แก่ รายงานของคณะกรรมการปฏิบัติตามพิธีสารฯ, กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ, สถานภาพของกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะ, ทะเบียนรายนามผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ, ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลไกและทรัพยากรทางการเงิน, ความร่วมมือกับองค์กร อนุสัญญา และโครงการอื่นๆ, งบประมาณสำหรับโปรแกรมงานของพิธีสารฯ, ประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้ข้อกำหนดในเอกสารสำหรับการดูแล ขนส่ง บรรจุหีบห่อ และจำแนก ระบุ LMO-FFPs , มาตรฐานในการดูแล ขนส่ง บรรจุหีบห่อ และจำแนกระบุ, สิทธิ และ/หรือ พันธกรณีของภาคีที่มีการนำผ่าน, การรับผิดและชดใช้, การประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง, ความตระหนัก การศึกษาและการมีส่วนร่วมของสาธารณชน, การติดตาม ตรวจสอบ และการรายงาน, การประเมินผลและพิจารณาทบทวน และแผนกลยุทธ์ของพิธีสารฯ

 

รายละเอียดเพิ่มเติม >> [Th / Eng]

 

<< ย้อนกลับ