การประชุมภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 2
(The Fifth Meeting of the Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity serving as the Meeting of the Parties to the Cartagena Protocol on Biosafety: COP-MOP 2)
มีขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2548 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา มีผู้เข้าร่วมประชุม 750 คน เป็นผู้แทนจากภาคีพิธีสารฯ, ประเทศต่างๆ, หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ, องค์การระหว่างประเทศ, องค์กรเอกชน,สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรม ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการดูแล การขนส่ง การบรรจุหีบห่อและการจำ แนกระบุสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (LMOs) รวมทั้งเอกสารกำกับสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (LMOs) เพื่อเป็นอาหาร อาหารสัตว์ และในกระบวนการผลิต (LMO–FFOs) ทางเลือกสำหรับการดำเนินงานตามข้อเรียกร้องเรื่องการแจ้ง, การประเมิน และการจัดการความเสี่ยง, การพิจารณาทางเศรษฐกิจ–สังคม การมีส่วนร่วมและความตระหนักของสาธารณชน, การรับผิดและการชดใช้ รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ นอกจากนี้ยังพิจารณาประเด็นต่อเนื่องอีกมาก ได้แก่ รายงานของคณะกรรมการการปฏิบัติตามพิธีสารฯ (Compliance Committee) รวมถึงกฎของระเบียบวิชาการ, การปฏิบัติงานและกิจกรรมของศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Clearing–House : BCH), สถานภาพของกิจกรรมการเสริมสร้าง สมรรถนะและการใช้ทะเบียนรายนามผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยทางชีวภาพ, กลไกและทรัพยากรการเงินความร่วมมือกับองค์การอื่น, และการจัดทำรายงานเสนอต่อ เลขาธิการอนุสัญญาฯ เกี่ยวกับเรื่องการบริหารของพิธีสารฯ และงบประมาณ การประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 2
นับว่าประสบความสำเร็จในการที่จะให้เกิดความก้าวหน้า ต่อการดำเนินงานตามพิธีสารฯ รวมทั้งข้อมติที่ว่าด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะ การเพิ่มความตระหนักและ การมีส่วนร่วมของสาธารณชน การถกเถียงอย่างหนักเรื่องการประเมินและการจัดการความเสี่ยงซึ่งรวมถึงความตกลงที่จะจัดตั้งประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญวิชาการ ระหว่างสมัยประชุม อย่างไรก็ตาม การประชุมยังไม่ประสบผลสำเร็จในการสนองต่องานหลักที่ว่าไว้ในเนื้อหาของพิธีสารฯ ได้แก่ การรับรองข้อมติว่าด้วยข้อเรียกร้อง ของการจัดทำเอกสารกำกับการใช้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมที่ใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ และในกระบวนการผลิต (LMO–FFPs) ตามมาตรา 18.2 (a) ซึ่งระบุไว้ว่าต้องดำเนินการให้แล้ว เสร็จภายใน 2 ปี หลังจากที่พิธีสารฯ มีผลบังคับใช้ แม้ว่าการประชุมหารือจะยาวนานและมีการประนีประนอมหลายครั้ง ผู้แทนประเทศบราซิลและสวิตเซอร์แลนด์ให้บันทึกการสงวนสิทธิอย่างเป็นทางการก่อนที่จะมีการปิดประชุม ทั้งนี้ที่ประชุมให้การรับรองและลงมติว่าให้นำประเด็น ดังกล่าวพิจารณาอีกครั้งในการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารฯ สมัยที่ 3 ประเด็นหลักที่ยังตกลงกันในที่ประชุมไม่ได้คือ ข้อเรียกร้องให้มีการกำหนดรายละเอียดของการขนส่ง สินค้าที่อาจมีการปรากฏของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม
รายละเอียดเพิ่มเติม >> [Th / Eng]