ข้อกำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว
- รายละเอียด
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว
กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวไว้ 5 ระดับ ดังนี้
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 : ความมุ่งมั่นสีเขียว (GREEN COMMITMENT)
1. องค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ (Prevention of pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable resource use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change mitigation and adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection and restoration of the natural environment)
2. องค์กรต้องมีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรทราบ
เอกสารที่ผู้สมัครต้องยื่นประกอบการพิจารณา
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 : ปฏิบัติการสีเขียว (GREEN ACTIVITIES)
1. องค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ (Prevention of pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable resource use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change mitigation and adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection and restoration of the natural environment) และสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรทราบ
2. องค์กรจัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือการป้องกันมลพิษ หรือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน หรือลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ โดยแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ และกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จ
เอกสารที่ผู้สมัครต้องยื่นประกอบการพิจารณา
1. กรณีผู้สมัครได้รับการรับรองโครงการ/กิจกรรมที่คณะอนุกรรมการให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้การยอมรับในระดับที่ 2
ผู้สมัคร : ต้องยื่นเอกสารใบรับรองหรือประกาศนียบัตรของกิจกรรม โดย
(1) กรณีใบรับรองหรือประกาศนียบัตรกำหนดวันสิ้นอายุ ณ วันที่ยื่นสมัครต้องยังไม่สิ้นอายุ
(2) กรณีใบรับรองหรือใบประกาศนียบัตรไม่กำหนดวันสิ้นอายุ หรือสิ้นอายุแล้ว ต้องมีเอกสาร/หลักฐานที่สามารถแสดงได้ว่าองค์กรยังรักษาและคงไว้ซึ่งการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
2. กรณีผู้สมัครไม่ได้รับการรับรองโครงการ/กิจกรรมที่คณะอนุกรรมการให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้การยอมรับ
ผู้สมัคร : ต้องยื่นเอกสาร ดังนี้
(1) ต้องยื่นเอกสารการประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและหลักฐานการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บันทึกการประชุม ภาพถ่าย การติดประกาศ หรือหลักฐานอื่นใด
(2) แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 : ระบบสีเขียว (GREEN SYSTEM)
1. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ เพื่อ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ (Prevention of pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable resource use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change mitigation and adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection and restoration of the natural environment) และสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรทั้งหมดซึ่งทำงานให้หรือในนามขององค์กรทราบ
2. การวางแผน
(1) องค์กรต้องชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และการบริการขององค์กรและพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
(2) องค์กรต้องชี้บ่งและติดตามสืบค้นข้อกำหนดของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
(3) องค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย กฎหมาย และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(4) องค์กรต้องจัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยแผนงานต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ และกำหนดวิธีการและระยะเวลาแล้วเสร็จ
(5) องค์กรต้องมีการดำเนินการตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการกระจายและชี้แจงแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบและมีความเข้าใจ เพื่อให้มีการดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้
(6) องค์กรต้องมีการติดตามผลการดำเนินการตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดทำไว้
(7) องค์กรต้องมีการทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ
3. การนำไปปฏิบัติ
(1) องค์กรต้องจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
(2) องค์กรต้องมีการฝึกอบรมและการสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรที่ทำงานให้องค์กรหรือทำงานในนามองค์กรเพื่อให้เกิดความตระหนักต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(3) องค์กรต้องกำหนดช่องทางและวิธีการสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคคลภายในองค์กรและบุคคลภายนอกองค์กร
(4) องค์กรต้องจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานในการควบคุมเอกสารที่ถูกกำหนดโดยระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
(5) องค์กรต้องจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อควบคุมการปฏิบัติในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
(6) ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน
(7) องค์กรต้องจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรืออุบัติภัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
4. การติดตาม ประเมินผล
(1) องค์กรต้องจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานในการเฝ้าติดตาม/ตรวจวัด คุณภาพสิ่งแวดล้อม และเครื่องมือที่นำมาใช้ในการเฝ้าติดตามและตรวจวัดต้องได้รับทวนสอบและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
(2) องค์กรต้องจัดทำขั้นตอนในการดำเนินการประเมินความสอดคล้องของระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมกับข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามช่วงเวลาที่กำหนด
(3) องค์กรต้องจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการดำเนินการกับข้อบกพร่องด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจจะเกิดขึ้น และปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน
(4) องค์กรต้องมีการชี้บ่ง จัดเก็บ ป้องกัน และกำหนดอายุการจัดเก็บบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
(5) องค์กรต้องดำเนินการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่ามีการนำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล และสอดคล้องกับข้อกำหนดต่าง ๆ
5. การทบทวนและรักษาระบบ
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังคงมีความเหมาะสม และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
เอกสารที่ผู้สมัครต้องยื่นประกอบการพิจารณา
ใบรับรองหรือประกาศนียบัตรของกิจกรรม ที่คณะอนุกรรมการให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้การยอมรับในระดับที่ 3 โดย
(1) กรณีใบรับรองหรือประกาศนียบัตรกำหนดวันสิ้นอายุ ณ วันที่ยื่นสมัครต้องยังไม่สิ้นอายุ
(2) กรณีใบรับรองหรือใบประกาศนียบัตรไม่กำหนดวันสิ้นอายุ หรือสิ้นอายุแล้ว ต้องมีเอกสาร/หลักฐานที่สามารถแสดงได้ว่าองค์กรยังรักษาและคงไว้ซึ่งการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 : วัฒนธรรมสีเขียว (GREEN CULTURE)
1. องค์กรต้องมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดระดับที่ 3 ทุกข้อ
2. องค์กรต้องมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล โดยให้ครอบคลุมตามหลักการของมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ดังต่อไปนี้
2.1 องค์กรต้องมีความรับผิดชอบสำหรับผลกระทบจากองค์กรที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องมีความรับผิดชอบต่อ
(1) ผลกระทบจากการตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆ ขององค์กรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะผลกระทบด้านลบที่มีนัยสำคัญ
(2) การดำเนินการเพื่อการป้องกันผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
(3) องค์กรต้องมีความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมองค์กรต้องมีการเปิดเผยอย่างชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน โดย
(ก) ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง และง่ายต่อความเข้าใจ
(ข) ข้อมูลต้องเหมาะสมกับช่วงเวลา เป็นข้อเท็จจริง ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง
3. องค์กรต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดย
(1) ประกาศกำหนดค่านิยมและหลักการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้ชัดเจน
(2) ดำเนินการตามโครงสร้างการบริหารที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
(3) มีกลไกในการกำกับดูแล และการควบคุมต่างๆ เพื่อเฝ้าติดตาม ให้การสนับสนุน และการบังคับให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
(4) มีการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
(5) มีการป้องกัน หรือแก้ไขการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไม่มีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดทั่วทั้งองค์กร
(6) มีรายงานผลการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
4. องค์กรต้องเคารพ พิจารณา และตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ด้านประเด็นสิ่งแวดล้อม
5. องค์กรต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม
6. องค์กรต้องเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางสากลในด้านสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่กฎหมาย หรือการดำเนินการตามกฎหมายยังไม่พอเพียงสำหรับการปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ องค์กรต้องผลักดันให้เกิดความเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางของสากล
7. องค์กรต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี และให้การยอมรับถึงความสำคัญและความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชนในด้านสิ่งแวดล้อม
8. องค์กรต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ
เอกสารที่ผู้สมัครต้องยื่นประกอบการพิจารณา
1. ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 หรือ ใบรับรองหรือประกาศนียบัตรของโครงการ/กิจกรรม ที่คณะอนุกรรมการให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้การยอมรับในระดับที่ 3
2. รายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
3. รายงานผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
แบบประเมินเบื้องต้นระดับที่ 4
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5 : เครือข่ายสีเขียว (GREEN NETWORK)
1. องค์กรต้องมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ทุกข้อ
2. องค์กรต้องดำเนินการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stake holder) ที่ครอบคลุมทั้ง ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ชุมชน และผู้บริโภค และต้องทำให้ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดย
(1) ต้องส่งเสริมให้ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว และนำมาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล โดยต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน และต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
(2) ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาชุมชน และต้องร่วมกับชุมชนในการกระตุ้นจิตสำนึกและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อการบริโภคที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
(3) ต้องให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคในการบริโภคที่ยั่งยืน
3. องค์กรต้องจัดทำรายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย และสรุปรายงานผลความสำเร็จเพื่อเผยแพร
่
เอกสารที่ผู้สมัครต้องยื่นประกอบการพิจารณา
1. กรณีได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ต้องยื่นเอกสาร ดังนี้
(1) ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4
(2) รายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย และสรุปรายงานผลความสำเร็จเพื่อเผยแพร่
2. กรณียังไม่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ต้องยื่นเอกสาร ดังนี้
(1) ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 หรือ ใบรับรองหรือประกาศนียบัตรของโครงการ/กิจกรรมที่คณะอนุกรรมการให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้การยอมรับในระดับที่ 3
(2) รายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
(3) รายงานผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
(4) รายงานการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย และสรุปรายงานผลความสำเร็จเพื่อเผยแพร่
แบบประเมินเบื้องต้นระดับที่ 5