โครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคต (Mangrove for the future: MFF) เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิทั้ง 6 ประเทศ คือ อินเดีย มัลดีฟ เชย์เซล อินโดนีเซีย ศรีลังกา และไทย โดยโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอินเดีย โดยมีองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นผู้บริหารโครงการร่วมกันกับหน่วยงานตา่งๆ ของสหประชาชาติ อาทิ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) องค์การแคร์แห่งประเทศไทย (CARE) และองค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ (WI) ตลอดจนชุมชนท้องถิ่นของแต่ละประเทศ โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ. 2550-2554)
การทำงานของโครงการเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้การให้คำปรึกษาและแนะนำของคณะกรรมการระดับภูมิภาค ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากรัฐบาลแต่ละประเทศ หน่วยงานของสหประชาชาติ องค์กรเอกชนและตัวแทนของแต่ละภูมิภาค โดยร่วมงานกับคณะกรรมการประสานความร่วมมือระดับชาติด้านป่าชายเลน เพื่อดำเนินการประสานงาน ชี้แนะ ประชุมผู้มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ภายใต้กรอบเนื้อหาของโครงการ MFF ทั้งนี้ประเทศไทย มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งคณะกรรมการประสานความร่วมมือระดับชาติด้านป่าชายเลนจำนวน 26 คน โดยมีอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นประธาน และมีคณะทำงานดังต่อไปนี้
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
|
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
ประธานกรรมการ |
2 |
ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย |
ที่ปรึกษา |
3 |
ศาสตราจารย์สนิท อักษรแก้ว |
กรรมการ |
4 |
ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
กรรมการ |
5 |
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
กรรมการ |
6 |
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
กรรมการ |
7 |
นายวิจารณ์ สิมาฉายา กรมควบคุมมลพิษ |
กรรมการ |
8 |
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
กรรมการ |
9 |
ผู้แทนสำนักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทย |
กรรมการ |
10 |
ผู้แทนสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
กรรมการ |
11 |
ผู้แทนสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) |
กรรมการ |
12 |
ผู้แทนสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) |
กรรมการ |
13 |
ผู้แทนองค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) |
กรรมการ |
14 |
ผู้แทนองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) |
กรรมการ |
15 |
ผู้แทนองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) |
กรรมการ |
16 |
ผู้แทนองค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ ประเทศไทย |
กรรมการ |
17 |
ผู้แทนมูลนิธิรักษ์ไทย |
กรรมการ |
18 |
รองศาสตราจารย์อภิวันท์ กำลังเอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
กรรมการ |
19 |
รองศาสตราจารย์นพรัตน์ บำรุงรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
กรรมการ |
20 |
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศูนย์เครือข่ายศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
กรรมการ |
21 |
นายจำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย |
กรรมการ |
22 |
นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข มูลนิธิการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน |
กรรมการ |
23 |
นายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ มูลนิธิหยาดฝน |
กรรมการ |
24 |
นางสาวสมหญิง สุนทรวงษ์ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก |
กรรมการ |
25 |
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางชายฝั่งและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
กรรมการและเลขานุการ |
26 |
หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
คณะกรรมการประสานความร่วมมือระดับชาติด้านป่าชายเลนมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการระดับประเทศให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายและวัตถุประสงค์ภายใต้โครงการ MFF
2) กลั่นกรองและคัดเลือกโครงการที่ดำเนินการในประเทศไทยภายใต้โครงการ MFF
3) สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานตามโครงการ
4) พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการขนาดเล็ก ในพื้นที่สาธิต
5) ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและจัดทำรายงานการดำเนินโครงการ
6) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นตามความเหมาะสม
โครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคต (MFF) ส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการใดๆ เพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่ง แบ่งเป็น ทุนโครงการขนาดเล็ก โดยมีงบประมาณสนับสนุนสูงสุด คือ 25,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 825,000 บาทต่อโครงการ และทุนโครงการขนาดใหญ่ โดยมีงบประมาณสนับสนุนสูงสุด คือ 300,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9,900,000 บาทต่อโครงการ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยประกอบไปด้วย 6 โครงการขนาดเล็ก ในทะเลอันดามัน 2 โครงการขนาดเล็กและ 1 โครงการขนาดใหญ่ในอ่าวไทย ได้แก่
โครงการ |
ขนาดของโครงการ |
การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน |
ขนาดเล็ก |
พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชนกับการจัดการป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน |
ขนาดเล็ก |
อาหารท้องถิ่นรักษาป่าชายเลน |
ขนาดเล็ก |
การอนุรักษ์และฟื้นฟูสร้างถิ่นที่อยู่อาศัยสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลแม่นางขาว |
ขนาดเล็ก |
สร้างพื้นที่ป่าชายเลนให้นากทะเล |
ขนาดเล็ก |
ปลูกเตยปาหนันเป็นแนวเขตป่าชายเลน |
ขนาดเล็ก |
ฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าชายเลนและเพาะเลี้ยงหอยแครงชุมชน |
ขนาดเล็ก |
เครือข่ายบ้านดอนร่วมฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าชายเลน |
ขนาดเล็ก |
การฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมชายฝั่งหลังถูกทำลาย: การส่งเสริมการดำรงอาชีพอย่างยั่งยืนของชุมชนอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ขนาดใหญ่ |
รายละเอียดเพิ่มเติมโครงการขนาดเล็ก คลิกที่นี่
รายละเอียดเพิ่มเติมโครงการขนาดใหญ่ คลิกที่นี่
สำหรับในประเทศไทยมีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง และพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตราด และจันทบุรี
|
พื้นที่ดำเนินงานโครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคตในประเทศไทย |
|