ไส้เดือนดิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ไส้เดือน (อังกฤษ: Earthworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่มีการสืบพันธุ์แบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
ปัจจุบันพบทั่วโลกประมาณ 4,400 ชนิด โดยแบ่งออกได้ตามลักษณะแหล่งที่อยู่อาศัย
กลุ่มอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
กลุ่มอาศัยในดินชั้นบน ที่มีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร
กลุ่มอาศัยในดินชั้นล่าง ที่มีความลึกประมาณ 2-3 เมตร
ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน
ไส้เดือน ดินมักพบโดยทั่วไปในดิน เศษกองซากพืช มูลสัตว์ ที่ๆมีความชื้นพอสมควร ปัจจุบันไส้เดือนมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยมีโครงสร้างที่มีลักษณะเหมือนกันคือ

ลักษณะภายนอกโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน
ลักษณะ ภายนอกที่เด่นชัดของไส้เดือนดินคือการที่มีลำตัวเป็นปล้องตั้งแต่ส่วนหัว จนถึงส่วนท้าย มีรูปร่างเป็นรูปทรงกระบอก มีความยาว ในแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เมื่อโตเต็มที่จะมีปล้องประมาณ 120 ปล้อง แต่ละปล้องจะมีเดือยเล็กๆ เรียงอยู่โดยรอบปล้อง ไม่มีส่วนหัวที่ชัดเจน ไม่มีตา มีไคลเทลลัม ซึ่งจะเห็นได้ชัด ในระยะสืบพันธุ์ และยังประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่สำคัญ ดังนี้

พรอสโตเมียม ( Prostomium) มี ลักษณะเป็นพูเนื้อที่ยืดหดได้ติดอยู่กับผิวด้านบนของช่องปาก เป็นตำแหน่งหน้าสุดของไส้เดือนดิน ทำหน้าที่คล้ายริมฝีปาก ไม่ถือว่าเป็นปล้อง มีหน้าที่สำหรับกวาดอาหารเข้าปาก
เพอริสโตเมียม ( Peristomium ) ส่วนนี้นับเป็นปล้องแรกของไส้เดือนดิน มีลักษณะเป็นเนื้อบางๆ อยู่รอบช่องปากและยืดหดได้

ช่องปาก อยู่ในปล่องที่ 1-3 เป็นช่องทางเข้าออกของอาหารเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะมีต่อมน้ำลายอยู่ในเยื่อบุช่องปากด้วย
เดือนหรือขน ( Setae ) จะ มีลักษณะเป็นขนแข็งสั้น ซึ่งเป็นสารพวกไคติน ที่งอกออกมาบริเวณผนังชั้นนอก สามารถยืดหดหรือขยายได้ เดือนนี้มีหน้าที่ ในการช่วยเรื่องการยึดเกาะและเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
ช่องเปิดกลางหลัง ( Dorsal pore ) เป็น ช่องเปิดขนาดเล็กตั้งอยู่ในร่องระหว่างปล้อง บริเวณแนวกลางหลังสามารถพบช่องเปิดชนิดนี้ได้ในไส้เดือนดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นไส้เดือนจำพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือกึ่งน้ำ ในร่องระหว่างปล้องแรกๆ บริเวณส่วนหัวจะไม่ค่อยพบช่องเปิดด้านหลัง ช่องเปิดดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับช่องภายในลำตัวและของเหลวในช่องลำตัว มีหน้าที่ขับของเหลวหรือเมือกภายในลำตัวออกมาช่วยลำตัวภายนอกชุ่มชื่น ป้องกันการระคายเคือง ทำให้เคลื่อนไหวง่าย
รูขับถ่ายของเสีย ( Nephridiopore ) เป็นรูที่มีขนาดเล็กมาก สังเกตเห็นได้ยาก เป็นรูสำหรับขับของเสียออกจากร่างกาย เป็นรูเปิดภายนอก ซึ่งมีอยู่เกือบทุกปล้อง ยกเว้น 3-4 ปล้องแรก
ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ ( Male pore ) เป็นช่องสำหรับปล่อยสเปิร์ม จะมีอยู่ 1 คู่ ตั้งอยู่บริเวณลำตัวด้านท้องหรือข้างท้อง ในแต่ละสายพันธุ์ช่องสืบพันธุ์อยู่ในปล้องที่ไม่เหมือนกัน มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายหลอดเล็กยาวเข้าไปภายใน
ช่องสืบพันธุ์เพศเมีย ( Female pore ) เป็นช่องสำหรับออกไข่ โดยทั่วไปมักตั้งอยู่ในปล้องถัดจากปล้องที่มีรังไข่ ( avary) มักจะพบเพียง 1 คู่ ตั้งอยู่ในร่องระหว่างปล้องหรือบนปล้อง ตำแหน่งที่ตั้งมักจะแตกต่างกันในไส้เดือนแต่ละพันธุ์
ช่องเปิดสเปิร์มมาทีกา ( Spermathecal porse ) เป็น ช่องรับสเปิร์มจากไส้เดือนดินคู่ผสมอีกตัวหนึ่งขณะมีการผสมพันธุ์แลกเปลี่ยน สเปิร์มซึ่งกันและกัน เมื่อรับสเปิร์มแล้วจะนำไปเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์ม ( Seminal receptacle )
ปุ่มยึดสืบพันธุ์ ( Genital papilla ) เป็นอวัยวะที่ช่วยในการยึดเกาะขณะที่ไส้เดือนดินจับคู่ผสมพันธุ์กัน


Clitellum,
Genital setae (segment 26). During mating, the pair of genital setae are used to help bind two worms together while facing in opposite directions.
Sperm grooves As two worms mate, sperm released at the sperm ducts travels in the worms sperm grooves to the seminal receptacle opening of the other worm
Sperm ducts.
Female genital pores. These are only visible when the worm is in reproductive condition.
Seminal receptacles. These are only visible whenthe worm is in reproductive condition
ไคลเทลลัม ( Clitellum) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการสร้างไข่ขาวหุ้มไข่ และสร้างเมือกโคคูน ไคลเทลลัมจะพบในไส้เดือนดินที่โตเต็มไวพร้อมที่ผสมพันธุ์แล้วเท่านั้น โดยจะตั้งอยู่บริเวฯปล้องด้านหน้าใกล้กับส่วนหัว ครอบคลุมปล้องตั้งแต่ 2-5 ปล้อง
ทวารหนัก ( Anus ) เป็นรูเปิดที่ค่อนข้างแคบเปิดออกในปล้องสุดท้าย ซึ่งใช้สำหรับขับกากอาหารที่ผ่านการย่อยและดูดซึมแล้วออกนอกลำตัว

โครงสร้างภายในของไส้เดือนดิน
( ข้อความจากหนังสือไส้เดือนดิน ของ ดร.อานัฐ ตันโช )
การผสมพันธุ์ของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินโดยปกติจะผสมพันธุ์กันในช่วงกลางคืน โดยไส้เดือนดินสองตัวมาจับคู่กันโดยใช้ด้านท้องแนบกันและสลับหัวสลับหางกัน ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะแนบกับช่องสเปิร์มมาทีกาของอีกตัวหนึ่ง โดยมีปุ่มสืบพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันเอาไว้ สเปิร์มจากช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะส่งเข้าไปเก็บในถุงสเปิร์มมาที กาที่ละคู่จนครบทุกคู่ การจับคู่จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแยกออกจากกัน
ในขณะที่มีการจับคู่แลกเปลี่ยนสเปิร์มกัน ไส้เดือนดินทั้ง 2 ตัว จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างฉับพลัน กรณีเช่นสิ่งเร้าจากการสัมผัสและแสง เมื่อไส้เดือนดินแยกจากกัน ประมาณ 2-3 วัน จะมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณไคลเทลลัม เพื่อสร้างถุงไข่ ( Cocoon ) ต่อมเมือกจะสร้างเมือกคลุมบริเวณไคลเทลลัมและต่อมสร้างโคคูน ( Cocoon secreting gland ) จะสร้างเปลือกของโคคูน ซึ่งเป็นสารคล้ายไคติน สารนี้จะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศกลายเป็นแผ่นเหนียวๆ ต่อมาต่อมสร้างไข่ขาว ( Albumin secreting gland) จะขับสารอัลบูมินออกมาอยู่ในเปลือกของโคคูน Pheretima ซึ่ง มีช่องสืบพันธุ์เพศเมียอยู่ที่ไคลเทลลัม จะปล่อยไข่เข้าไปอยู่ในโคคูน หลังจากนั้น โคคูนจะแยกตัวออกจากผนังตัวของไส้เดือนดินคล้ายกับเป็นปลอกหลวมๆ เมื่อไส้เดือนหดตัวและเคลื่อนถอยหลัง โคคูนจะเคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อเคลื่อนผ่านช่องเปิดของถุงเก็บสเปิร์ม ก็จะรับสเปิร์มเข้าไปในโคคูน และมีการปฏิสนธืภายในโคคูน เมื่อโคคูนหลุดออกจากตัวไส้เดือนดินปลายสองด้านของโคคูนก็จะหดตัวปิดสนิท เป็นถุงรูปไข่มีสีเหลืองอ่อนๆ ยาวประมาณ 2-2.4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ1.2-2 มิลลิเมตร ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา 8-10 สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่วไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ไส้เดือนบางชนิดอาจมีไข่มากถึง 60 ฟอง
ตัวอ่อนของไส้เดือนดินที่อยู่ในไข่ก็จะเจริญและพัฒนาร่างกายในส่วนต่างๆ โดยใช้สารอาหารที่อยู่ภายในถุงไข่ ระหว่างที่ตัวอ่อนเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ในถุงไข่นั้น ผนังของถุงไข่ก็จะเปลี่ยนสีไปด้วย โดยถุงไข่ที่ออกจากตัวใหม่ๆ จะมีสีจางๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสีของถุงไข่ก็จะมีสีที่เข้มขึ้นตามลำดับ และจะฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา ไส้เดือนดินบางสายพันธุ์สามารถที่จะสืบพันธุ์แบบไม่ต้องเกิดการผสมกัน ระหว่างไข่กับสเปิร์มได้ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบ Parthenogenetically จะพบลักษณะการสืบพันธุ์เช่นนี้ได้ในไส้เดือนดินสกุล Dendrobaena เป็นต้น ซึ่งพบว่ามักจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยการผสมพันธุ์ นอกจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแล้วยังมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเซลล์ สืบพันธุ์ด้วยเช่น กระบวนการแบ่งเป็นชิ้นเล็ก และ กระบวนการงอกใหม่
อิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของไส้เดือนดิน
สำหรับ ช่วงเวลาการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินเมื่อฟักออกจากถุงไข่แล้ว องค์ประกอบสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบอย่างมากต่อระยะเวลาเจริญเติบโตของไส้เดือน ดิน ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น ขึ้นอยู่กับการดำรงชีวิตของแต่ละสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ใช้เวลาเติบโต 17-19 สัปดาห์ เมื่อเลี้ยงที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียล บางสายพันธุ์ใช้เวลา 13 สัปดาห์ที่ 18 องศาเซลเซียล ไส้เดือนดินจะมีอายุขัยยืนยาวถึง 4 25 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ สำหรับประเทศไทยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงไส้เดือนดิน อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียล ในฤดูฝนที่มีความชื้นสูงไส้เดือนจะสร้างถุงไข่ได้มากกว่าช่วงฤดูร้อนและฤดู หนาว เพราะฉนั้นอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสามารถทำให้ชีวิตของไส้เดือน ดินดำรงชีวิตได้ยาวนานขึ้น
( บทความจากหนังสือ การเลี้ยงไส้เดือนดิน )
ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรียสารในดิน และการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือน ถือเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินมีช่อวว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนอีกด้วย และนอกจากนี้แล้ว ไส้เดือนยังเป็นที่นิยมอย่างยาวนาน ใช้เป็นเหยื่อสำหรับตกปลา
ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด นักวิชาการโรคพืชชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานไส้เดือนฝอย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้ใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชได้รับความสนใจจากเกษตรกรกันมาก การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยไส้เดือนฝอยมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผักและหนอนด้วงหมัดผัก ไส้เดือนฝอยสามารถทำให้แมลงศัตรูพืชเหล่านี้ตายได้อย่างรวดเร็ว กลุ่มงานไส้เดือนฝอย ได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพนำมาทดแทนหรือลดการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชลงในระดับที่ปลอดภัย และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่เน้นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) เพื่อให้ผลผลิตเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ และเป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ
ไส้เดือนฝอยที่มีจำหน่ายเป็นการค้าในปัจจุบัน มีราคาค่อนข้างสูง หรือซื้อยาก อาจประสบปัญหาในขณะเก็บรักษาและการขนส่งผลิตภัณฑ์ ทำให้ไส้เดือนฝอยลดประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงได้ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยวิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอยอย่างง่ายๆ เพื่อให้เกษตรหรือผู้สนใจเพราะเลี้ยงใช้เองได้และมีราคาถูก
ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย (Steinernema sp. Thai isolate)
เมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้ค้นพบไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงชนิดใหม่ เรียกว่า ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด มีความปลอดภัยต่อพืช สัตว์ และสภาพแวดล้อม จึงเป็นชีวภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจนำมาใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะการนำไส้เดือนฝอยมาใช้พ่นกำจัดแมลงในการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ หรือใช้ในแปลงเกษตรอินทรีย์
คุณสมบัติไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย
ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย สามารถเพาะเลี้ยงขยายปริมาณได้ง่ายในอาหารเทียมหลายชนิด นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทนทานอุณหภูมิได้สูงถึง 27 ?C 35 องศาเซลเซียส จัดเป็นสายพันธุ์ทนร้อนที่มีชีวิตรอดได้ดีในสภาพอุณหภูมิ ในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย โดยไม่ต้องเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอยในห้องควบคุมอุณหภูมิ จึงเป็นข้อดีที่จะผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเพื่อการค้าหรือผลิตไว้ใช้เอง เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงและขยายปริมาณได้ดีในอาหารเทียมที่มีราคาถูก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยหรือกลุ่มเกษตรกรที่จะหันมาใช้ไส้เดือนฝอยทดแทนหรือลดการซื้อสารเคมีมาใช้ในการกำจัดศัตรูพืช
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ไส้เดือนฝอยสามารถเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิห้องปกติ (30 ?C 33 องศาเซลเซียส) กลุ่มงานไส้เดือนฝอยได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เป็นเทคโนโลยีที่ง่าย ต้นทุนต่ำ และกระบวนการเพาะเลี้ยงไม่ยุ่งยาก เป็นเทคโนโลยีการผลิตระดับเกษตรกรผลิตไว้ใช้เองเป็นผลสำเร็จแล้ว พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้การผลิตไส้เดือนฝอยไปสู่เกษตรกร และสนับสนุนให้เกษตรกรเพราะเลี้ยงไส้เดือนฝอยใช้เอง ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายซึ่งเป็นต้นทุนการซื้อสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือสารชีวภัณฑ์อื่นที่มีราคาแพง นอกจากนั้นการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดศัตรูพืช ยังมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตรและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ไส้เดือนฝอยที่เพาะเลี้ยงเองสามารถนำไปใช้ได้ทันที มีความแข็งแรงและมีศักยภาพในการฆ่าแมลง
อ้างอิง : กลุ่มงานไส้เดือนฝอย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
ตัวอย่างไส้เดือน
 |
 |
ไส้เดือนดิน |
ไส้เดือนฝอย |
|