นิยาม ความหมาย

 

          ระบบนิเวศเกษตร (agricultural ecosystem) เป็นระบบที่ประกอบด้วยสังคมของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กัน แต่มีสภาพเปลี่ยนแปลงและผันแปรได้ง่ายเนื่องจากพื้นที่มันถูกจัดการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์เพื่อการผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก ความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเกษตรสามารถบ่งบอกถึงความยั่งยืนของระบบได้ เพราะหากการผลิตทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อทรัพยากรชีวภาพแล้ว คุณภาพของพื้นที่ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะส่งผลสะท้อนกลับต่อผลผลิตทางการเกษตรได้

          ระบบนิเวศเกษตร เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับสิ่งแวดล้อมประชาคมโลกถือว่าความหลากหลายทางชีวภาพ
ทางการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญของการผลิตอาหารเพื่อการดำรงชีวิตของพลโลกระบบนิเวศเกษตรในปัจจุบันที่เน้นผลิตจำนวนมากเพื่อ
ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่ใช้ในการเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำพืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่เข้ามาเพาะปลูกแทนที่สายพันธุ์ดั้งเดิมของท้องถิ่นของท้องถิ่น ซึ่งส่งผลทำให้พืชดังกล่าวตกอยู่ในสสภาวะที่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ในหลายพื้นที่ สิ่งที่ประชาคมโลกวิตกอยู่ในปัจจุบันก็คือ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตรกรรมที่จะส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารและยาของมนุษย์ในอนาคต (โครงการสำรวจและจัดทำความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ)

          ระบบนิเวศเกษตร (agricultural ecosystem) เป็นระบบนิเวศหนึ่งที่ประกอบด้วย สังคมของสิ่งมีชีวติกับปัจจัยแวดล้อมที่มไม่มีชีวิตเป็นที่ๆ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ดำรงชีพอยู่ร่วมกันและมีความผันแปรของระบบตามปัจจัยแวดล้อม การทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรที่ใช้เทคโนโลยี หรือเกษตรแบบดั้งเดิมอาจก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ (สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ)

          ระบบนิเวศเกษตร ( agricultural ecosystems) หมายถึง ระบบนิเวศที่มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นระบบนิเวศใหม่ ต้องพึ่งพาพลังงานจุนเจือให้เกิดผลผลิตซึ่งอาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อยู่รอบๆระบบนิเวศเกษตรมีผู้ผลิตเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ระบบนิเวศเกษตรเป็นระบบการผลิตเป็นส่วนใหญ่โดยพืชเกษตรใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สัตว์เลี้ยงกินอาหารที่เป็นพืชเกษตรเป็นหลัก ซึ่งภายในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี ครอบคลุมสภาพการเกษตรกรรมของจังหวัดและอำเภอโดยเฉพาะ การปลูกพืชและการปรับปรุงคุณภาพของดิน ความเหมาะสมของที่ดินในการปลูกพืช เช่น ข้าวที่เป็นนาข้าวทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง พืชไร่หลักในพื้นที่ ได้แก่ อ้อยและ มันสำปะหลัง และไม้ผล ไม้ยืนต้น ได้แก่ สวนไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสวนยูคาลิปตัส ในระบบการเกษตรกรรม การปลูกยูคาลิปตัส จัดเป็นพื้นที่สวนป่าหรือป่าปลูก ตลอดจนความเหมาะสมของพื้นที่ที่ อาจจะพัฒนาระบบชลประทานได้และการใช้ที่ดินที่ไม่เป็นไปตามความเหมาะสมของที่ดิน เป็นต้น (กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

        ระบบนิเวศเกษตร (agricultural ecosystem) คือ ระบบการผลิตพืช สัตว์ ประมง และป่าไม้ ที่มนุษย์ได้กระทำให้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ เพื่อการแลกเปลี่ยนและเพื่อการค้าขาย โดยมีองค์ประกอบที่เป็นสิ่งมีชีวิต ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และองค์ประกอบที่เป็็นสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ น้ำ ดิน อากาศ และแสงแดด ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติรวมไปถึงปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม ประเพณีและการเมือง ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันที่ทำให้เกิดเป็นรระบบนิเวศเกษตร (ทุ่งสงดอทคอม)

        ระบบนิเวศเกษตร (agricultural ecosystem) เป็นระบบที่มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่ระบบนิเวศนั้นถูกมองว่าเป็นระบบ
ที่มีการสมดุลที่ไม่อยู่นิ่ง (dynamic equilibrium) โดยที่มีขบวนการที่จะรักษาและควบคุมความสมดุลไว้ว่าจะเกิดความผันแปรจากปัจจัยต่างๆ ภายนอก (โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม)

       ระบบนิเวศเกษตร (agricultural ecosystem) เป็นระบบที่มนุษย์ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่ (นายสันทัด สมชีวิตา)

       ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร หมายถึง ความหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆ ทุกชนิด ที่มีอยู่ในระบบนิเวศเกษตรและระบบนิเวศใกล้เคียง ซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการจัดการของเกษตร และปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

       Agricultural biodiversity is a broad term that includes all components of biological diversity of relevance to food and agriculture, and all components of biological diversity that constitute the agricultural ecosystems, also named agro-ecosystems: the variety and variability of animals, plants and micro-organisms, at the genetic, species and ecosystem levels, which are necessary to sustain key functions of the agro-ecosystem, its structure and processes. (Convention on Biological Diversity)