
ชื่อ
ภาค
จังหวัด
ระยะเวลา |
ผีตาโขน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดเลย
ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี |
ความสำคัญ
ผีตาโขนเป็นประเพณีการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามน่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งได้ยึดถือสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล
เทศกาลงานบุญผีตาโขนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ งานบุญหลวง ซึ่งถือเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่น โดยรวมเอางานบุญพระเวส (ฮีตเดือนสี่) และงานบุญบั้งไฟ (ฮีตเดือนหก) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ซึ่งเชื่อว่าจะได้อนิสงค์แรงกล้า บันดาลให้พบพระศรีอาริยเมตไตรยในชาติหน้าส่วยงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง และถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลในงานบุญหลวงนี้จะมี ผีตาโขน ออกวาดลวดลายทั่วเมืองด่านซ้าย ร่วมสร้างความสนุกสนานครื้นเครงไปในขบวนแห่ด้วย
ที่มาของคำว่า ผีตาโขน นั้น บ้างก็ว่าน่าจะมาจากการที่ผีเหล่านี้สวมหน้ากากคล้ายลักษณะของหัวโขนแต่เดิมบางคนเรียก ผีตาขน แต่ก็หาความหมายไม่ได้ชัดแจ้ง และจากคำบอกเล่าของเจ้าพ่อกวน(ผู้นำทางพิธีกรรมของชาวด่านซ้าย)ขณะเข้าทรงว่าผีตาคนมางามบุญต่อมาจึงเพี้ยนเป็น ผีตาโขน
อุปกรณ์สำหรับการแต่งตัวในการละเล่นผีตาโขน คือหวดนึ่งข้าวเหนียว (ไม้ไผ่; Bambusa sp.) และแกนก้านมะพร้าว (มะพร้าว; Cocos nucifera L.) มาทำหน้ากากผีตาโขนด้วยการวาดลวดลายเพิ่มสีสันเป็นผีตาโขนที่หน้าตาโหดร้ายน่ากลัว หา "หมากกะแหล่ง" หรือกระดึงผูกคอวัวควายมาทำเป็นเครื่องประดับ และที่สำคัญที่สุดที่ผีตาโขนหลายตัวประณีตบรรจงประดิดประดอยเป็นที่สุดก็คือ อาวุธของผีตาโขนเป็นดาบใหญ่ ทำด้วยไม้มีทีเด็ดของดาบอยู่ที่ปลายด้ามดาบที่ทำเป็นรูปปลัดขิกอันโต ทายอดกลม ๆ เป็นสีแดงแจ๋ เอาไว้ไล่จิ้มสาว ๆ ในเมืองโดยเฉพาะ
พิธีในวันแรก เริ่มเวลาประมาณ ๓ นาฬิกาด้วยพิธีเบิกพระอุปคุต โดยคณะของแสนจะนำอุปกรณ์คือ มีด ดาบ หอก ฉัตร ถือเดินนำขบวนจากวัดโพนชัยไปริมแม่น้ำหมันเพื่อเชิญ พระอุปคุต (คือก้อนกรวดสีขาว)ในแม่น้ำ เล่าขานกันว่าเมื่อมีงานบุญใหญ่มักจะมีพวกมารมาผจญ จึงต้องเชิญพระอุปคุตมาเพื่อช่วยปราบมารให้ราบคาบเมื่อได้พระอุปคุตมาแล้วจะนำใส่หาบเคลื่อนขบวนมาทำพิธีที่หอพระอุปคุตวัด
โพนชัย
วันที่หนึ่ง ในตอนรุ่งเช้าจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดโพนชัย หลังจากนั้นตอนสายจะมีขบวนแห่ไปบ้านเจ้าพ่อกวน เพื่อทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้แก่เจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม เมื่อได้เวลาอันสมควร เจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียม คณะแสน นางแต่ง รวมถึงบรรดาผีตาโขนใหญ่ ผีตาโขนน้อย ทั้งหลาย ตลอดจนขบวนเซิ้งจะร่วมกันเคลื่อนขบวนแห่ไปยังวัดโพนชัย เวียนรอบอุโบสถ ๓ รอบ ซึ่งจะมีผีตาโขนเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆเที่ยวหลอกล้อผู้คนที่มาร่วมงามอย่างสนุกสนาน
วันที่สอง บรรดาผีตาโขนจะเริ่มเล่นกันตั้งแต่เช้า ส่วนใหญ่จะรวมกลุ่มกันอยู่ที่วัดโพนชัยเต้นตามจังหวะดนตรีจนถึงเวลาประมาณเวลา ๑๕ นาฬิกา จะเป็นพิธี แห่พระเวสสันดรเข้าเมือง (แห่พระ) ในขบวนแห่นี้ประกอบด้วย แสนด่าน (หัวหน้า คณะแสน) ถือพานบายศรีนำหน้า ตามด้วยขบวนพระพุทธรูป ๑ องค์ พระสงค์ ๔ รูป และเจ้าพ่อกวนนั่งบนบั้งไฟ โดยมีเจ้าแม่นางเทียม แสน นางแต่ง และประชาชนทั่วไปเดินตามขบวนที่ขาดไม่ได้ก็คือ ผีตาโขน น้อยใหญ่ทั้งหลาย เมื่อขบวนแห่ถึงวัดโพนชัยจะเดินเวียนรอบโบสถ์ ๓ รอบ ในระหว่างเคลื่อนขบวนจะมีการโปรยกัลปพฤกษ์ (เป็นเงินเหรียญห่อกระดาษเงิน กระดาษทอง)ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะแย่งกันเก็บเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเป็นที่สนุกสนาน
หลังจากนั้นบรรดาผู้เล่นผีตาโขนจะนำชุดและอุปกรณ์ที่ใช้เล่นไปทิ้งลงแม่น้ำหมัน ถือเป็นการลอยเคราะห์ให้ไหลล่องไปกับแม่น้ำ(แต่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ใช้ประดับบ้านหรือเก็บไว้เล่นอีกในปีหน้า) และที่บริเวณด้านหลังของวัดโพนชัยจะเป็นพิธีจุดบั้งไฟ (ไม้ไผ่; Bambusa sp.) เพื่อขอฝนเมื่อเสร็จแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน และออกมาฟังเทศน์พระมาลัยหมื่นพระมาลัยแสนที่วัดโพนชัยในตอนค่ำ
วันที่สาม จะเป็นการฟังเทศน์มหาชาติตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เช้ามืด เพื่อกล่อมเกลาจิตใจและได้อานิสงค์ผลบุญอันแรงกล้า เป็นอันเสร็จพิธี
อ้างอิง
http://www.prapayneethai.com
http://www.tessabandansai.com
http://www.thaigoodview.com