ระบบนิเวศหญ้าทะเลมีความสำคัญอย่างมากต่อปริมาณสัตว์น้ำและความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล เพราะเป็นแหล่งอนุบาล แหล่งวางไข่ แหล่งหากิน แหล่งเจริญเติบโตและแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของสัตว์ทะเลหายาก เช่น พยูน และเต่าทะเล ระบบนิเวศหญ้าทะเลยังให้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจากการทำประมงอีกด้วย ในปัจจุบันพบหญ้าทะเลตามมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้งสิ้น 58 ชนิด 12 สกุล โดยพบในประเทศไทย 12 ชนิด 7 สกุล ใน
19 จังหวัดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน โดยฝั่งอ่าวไทยพบ 12 ชนิด และฝั่งอันดามันพบ 11 ชนิด ดังในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ชนิดของหญ้าทะเลที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
ชนิดของหญ้าทะเล |
บริเวณที่พบ |
อ่าวไทย |
อันดามัน |
หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) |
x |
x |
หญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) |
x |
x |
หญ้าเงาแคระ (Halophila beccarii) |
x |
x |
หญ้าเงาใส (Halophila decipiens) |
x |
x |
หญ้าเงาใบเล็ก (Halophila minor) |
x |
x |
หญ้าเงาหรือหญ้าอำพัน (Halophila ovalis) |
x |
x |
หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia) |
x |
x |
หญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis) |
x |
x |
หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย (Cymodocea serrulata) |
x |
x |
หญ้าชะเงาใบมน (Cymodocea rotundata) |
x |
x |
หญ้าต้นหอมทะเล (Syringodium isoetifolium) |
x |
x |
หญ้าตะกานน้ำเค็ม (Ruppia maritime) |
x |
- |
รวม (ชนิด) |
12 |
11 |
หมายเหตุ x หมายถึง พบ และ - หมายถึง ไม่พบ
สถานภาพของหญ้าทะเล
หญ้าทะเลที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 33,300 ไร่ และชายฝั่งทะเลอันดามันมีพื้นที่ประมาณ 59,655 ไร่ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 35.8 และร้อยละ 64.2 ของแหล่งหญ้าทะเลทั่วประเทศ ตามลำดับ ซึ่งขนาดพื้นที่ของหญ้าทะเลที่พบในแต่ละจังหวัด และปัญหาความเสื่อมโทรม แสดงไว้ในตารางที่ 2 และ 3
ตารางที่ 2 พื้นที่หญ้าทะเลและปัญหาการเสื่อมโทรมที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
จังหวัด |
พื้นที่ (ไร่) |
ปัญหารความเสื่อมโทรม |
จันทบุรี |
1,690 |
มีการทำประมง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่บางส่วนรอบ ๆ อ่าวไปทำนากุ้งและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน |
ตราด |
4,605 |
หญ้าทะเลบริเวณอ่าวธรรมชาติกำลังฟื้นตัว เนื่องจากความร่วมมืออนุรักษ์หญ้าคาทะเลของชาวบ้าน |
ชลบุรี |
600 |
การสร้างเขื่อนกั้นคลื่น สะพานเทียบเรือและที่พักอาศัยภายในอ่าวสัตหีบ |
ระยอง |
3,441 |
น้ำทิ้งจากชุมชนและท่าเรือ การทำอวนทับตลิ่ง |
ชุมพร |
13,784 |
การเพิ่มขึ้นของตะกอนและน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำประมงที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบ |
ประจวบคีรีขันธ์ |
20 |
ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เพราะได้รับการดูแลจากกองบิน 53 |
นครศรีธรรมราช |
65 |
แหล่งหญ้าทะเลมีขนาดเล็ก อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
สุราษฎร์ธานี |
10,675 |
มีีปริมาณตะกอนธรรมชาติมากในบางบริเวณ การทำนากุ้ง การพัฒนาชายฝั่ง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง |
สงขลา |
343 |
เปลี่ยนแปลงตามสภาพธรรมาติ |
ปัตตานี |
1,710 |
การขยายตัวของชุมชนเมือง อุตสาหกรรมบนฝั่งแม่น้ำ การทำประมงรูปแบบต่าง ๆ เช่น อวนรุน อวนลาก น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และการสร้างท่าเทียบเรือประมง |
ตารางที่ 3 พื้นที่หญ้าทะเลและปัญหาการเสื่อมโทรมที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
จังหวัด |
พื้นที่ (ไร่) |
ปัญหารความเสื่อมโทรม |
ระนอง |
940 |
ปริมาณของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำมีปริมาณสูงขึ้น |
พังงา |
15,660 |
มีการเคลื่นย้ายของแนวสันทรายตามธรรมชาติทับถมแนวหญ้า และการถูกทำลายโดยเครื่องมือการทำประมง และผลกระทบจากพิบัติภัยสึนามิ |
ภูเก็ต |
4,500 |
ปริมาณตะกอนที่ถูกชะล้างลงมาจากบนฝั่ง น้ำเสียจากการทำนากุ้ง และผลกระทบจากพิบัติภัยสึนามิ |
กระบี่ |
15,670 |
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และการถูกทำลายโดยเครื่องมือทำประมง |
ตรัง |
21,036 |
การทำประมงโดยผิดวิธี เช่น อวนทับตลิ่งขนาดใหญ่ อวนรุน และตะกอนที่ถูกพัดมาจากบนฝั่ง และผลกระทบจากพิบัติภัยสึนามิ |
สตูล |
1,715 |
ไม่พบปัญหาความเสื่อมโทรม |
อ้างอิง : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550 รายงานสถานการณ์ทรัพยาการทางทะเลและชายฝั่ง ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2550. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ประโยชน์และความสำคัญของหญ้าทะเล
1. หญ้าทะเลเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจึงมีีผลผลิตโดยเฉลี่ย (กรัมน้ำหนักแห้ง/ตร.ม./ปี) สูง ซึ่งอันเป็นการสนับสนุนผลผลิตของสิ่งมีชีวิตขั้นต่อไป
2. ความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารในสามลักษณะ ประการแรกคือ การกินหญ้าทะเลเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่โดยเฉพาะเต่า และพะยูน ประการที่สอง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนหญ้าทะเลจะเป็นอาหารโดยตรงของปูปลาบางชนิดที่เข้ามาหากินตอนน้ำขึ้น และ ประการที่สาม คือ เมื่อหญ้าทะเลถูกย่อยสลายก็จะกลายเป็นซากอินทรีย์สารที่มีคุณค่าทางอาหารต่อสิ่งมีชีวิตอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ขบวนการทั้งสามประการนี้ช่วยให้มีการกระจายพลังงานไปสู่สรรพชีวิตต่อไป
3. ความเหมาะสมของระบบนิเวศหญ้าทะเลในการที่จะเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่กำบังหลบภัยของสัตว์ทะเลหลายชนิด ผลจากลักษณะโครงสร้างของหญ้าทะเลที่มีใบ ลำตัน และรากทำให้สัตว์ทะเลมากมายเข้ามาอาศัยอยู่ โดยอาจเข้ามาอยู่อาศัยอย่างถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ กลุ่มสัตว์ทะเลที่พบในบริเวณหญ้าทะเลนั้น มีทั้งอยู่ในวัยอ่อนและโตเต็มวัย
4. ความสามารถของระบบนิเวศหญ้าทะเลในการช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ ลดความแรงของคลื่น และยังช่วยลดการฟุ้งกระจายของตะกอนให้เกิดขึ้นน้อยลงจึงมีส่วนช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้คงทน ลดการพังทลายให้เกิดน้อยลง ทั้งนี้เป็นผลจากโครงสร้างของหญ้าทะเล ไม่ว่าจะเป็นส่วนของใบที่ช่วยต้านกระแสน้ำ ขณะที่รากและเหง้าช่วยยึดพื้นท้องทะเล
อ้างอิง : http://gotoknow.org/blog/group805/14448
แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล ---> คลิกที่นี่
หญ้าทะเลที่พบในประเทศไทย
|
|
|
หญ้าคาทะเล
Enhalus acoroides* (GT,AS) |
หญ้าชะเงาเต่า
Thalassia hemprichii* (GT,AS) |
หญ้าเงาแคระ
Halophila beccarii** (GT,AS) |
|
|
|
หญ้าเงาใส
Halophila decipiens* (GT,AS) |
หญ้าเงาใบเล็ก
Halophila minor* (GT,AS) |
หญ้าเงา หรือหญ้าอำพัน
Halophila ovalis* (GT,AS) |
|
|
|
หญ้ากุยช่ายเข็ม
Halodule pinifolia* (GT,AS) |
หญ้ากุยช่ายทะเล
Halodule uninervis* (GT,AS) |
หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย
Cymodocea serrulata* (GT,AS) |
|
|
|
หญ้าชะเงาใบมน
Cymodocea rotundata* (GT,AS) |
หญ้าต้นหอมทะเล
Syringodium isoetifolium* (GT,AS) |
หญ้าตะกานน้ำเค็ม
Ruppia maritime** (GT) |
หมายเหตุ :
* หมายถึง ภาพมาจาก http://www.seagrasswatch.org
** หมายถึง ภาพมาจาก http://www.aei-andaman.com/SEAGRASS.html?PHPSESSID=44b05e8efb79dcae8fd8cfc0b1
GT หมายถึง ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย (Gulf of Thailand) และ AS หมายถึง ชายฝั่งทะเลอันดามัน (Andaman Sea)
ี่
กลับสู่หน้าหลัก
|