การดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ

หญ้าทะเล

      แหล่งหญ้าทะเล เริ่มได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายครั้งแรกในบริเวณเกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยการประกาศเขตห้ามใช้เครื่องมือประมงในบรเวณแหล่งหญ้าทะเล ในปี พ.ศ. 2535 และต่อมาได้รับการคุ้มครองภายใต้พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตราการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ที่ไดรับธรณีพิบัติ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล พ.ศ. 2549 ปัจจุบันการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรวมทั้งแหล่งหญ้าทะเล อยู่ภายใต้หน้าที่รับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้ว และได้มีการบรรจุเรื่องเกี่ยวกับหญ้าทะเลไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550-2554 และแผนยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานบริหารจัดการแหล่งหญ้าทะเลและพะยูน ซึ่งมียุทธศาสตร์และแผนดำเนินงาน ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงาน
 
  1. สนับสนุนการวิจัยแบบบูรณาการและการติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศหญ้าทะเล
    1.1 ศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่การจัดการหญ้าทะเลและพะยูน
    1.2 ติดตามและตรวจสอบสถานภาพแหล่งหญ้าทะเล พะยูน และสิ่งแวดล้อม
    1.3 สร้างและพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับหญ้าทะเลและพะยูน
  2. ส่งเสริมการร่วมกลุ่มของภาคประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแหล่งหญ้าทะเลให้กับทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง
    2.1 ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรหญ้าทะเลโดยชุมชน
    2.2 เพิ่มศักยภาพขององค์กรและบุคลากรในการจัดการหญ้าทะเลและพะยูน
  3. พัฒนากลไกและเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลรวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งหญ้าทะเล
    3.1 พัฒนากฎหมาย นโยบายระเบียบข้อบังคับเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลและพะยูน
    3.2 ควบคุมและเฝ้าระวังกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหญ้าทะเล
    3.3 ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์หญ้าทะเลและพะยูน
  4. ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ระบบนิเวศหญ้าทะเลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
    4.1 ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและความตระหนักเกี่ยวกับระบบนิเวศหญ้าทะเล
    4.2 สร้างแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศหญ้าทะเลและศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก
  5. อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเลและทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล
    5.1 อนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลและทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล
    5.2 ฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลและสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล
  6. ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพทดแทน
    6.1 ส่งเสริมอาชีพทางการเพาะเลี้ยง
    6.2 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล
 
 

 

ตัวชี้วัด
 
  • แหล่งหญ้าทะเลได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ 93,000 ไร่ และมีสถานภาพสมบูรณ์มากกว่าร้อยละ 70
  • ประชากรพะยูนไม่น้อยกว่า 250 ตัว ในปี พ.ศ. 2555
 
 

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับประเทศ

หน่วยงาน
หน้าที่ความรับผิดชอบ

นโยบาย

การประสานงาน
การศึกษาวิจัย
การติดตามและตรวจสอบ
กฎ ระเบียบ
วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
พื้นที่คุ้มครอง
การมีส่วนรวมของประชาชน
ศูนย์ข้อมูล
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
*
-
*
*
*
-
*
*
*
กรมประมง
*
*
*
-
*
-
-
-
*
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
*
-
*
-
*
-
-
-
*
กรมควบคุมมลพิษ
*
-
*
*
*
-
-
-
*
กองทัพเรือ
*
-
-
-
-
-
-
-
-
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
*
-
*
-
-
-
-
*
*
กรมการพัฒนาชุมชน
*
-
-
-
-
-
-
-
-
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
*
-
*
*
*
-
-
-
-
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
*
-
*
-
-
-
-
-
กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
-
*
*
-
*
*
-
*
-
กรมพัฒนาที่ดิน
-
-
*
-
-
-
-
-
-
กองตำรวจน้ำ
-
-
-
-
*
-
-
-
-
กองทัพเรือ
-
-
-
-
*
-
-
-
-

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด

หน่วยงาน
หน้าที่รับผิดชอบ
นโยบาย
ประสานงาน
กฎ ระเบียบ
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ศูนย์ข้อมูล
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค
*
*
*
-
*
สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
*
-
*
*
-
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
*
*
*
-
-

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับท้องถิ่น

หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องกฎ ระเบียบ

  • เมืองพัทยา
  • เทศบาล
  • องค์การบริหารส่วนตำบล