ระบบนิเวศปะการัง
ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นระบบนิเวศทางทะเลที่มีความสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จำนวนมาก เนื่องจากแนวปะการังเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อน แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหลบภัย แหล่งอาหารของสัตว์น้ำ แหล่งวางไข่ แหล่งผสมพันธุ์ของสัตว์น้ำ และที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ทะเลนานาชนิด เช่น เต่าทะเล หมึก กุ้ง หอย ปลา เป็นต้น จากการสำรวจ พบปลาในแนวปะการังมากกว่า 800 ชนิด จึงเปรียบได้ว่าแนวปะการังนั้นเปรียบเสมือนป่าดงดิบบนพื้นแผ่นดิน
สถานภาพของแนวปะการัง
จากการสำรวจปะการังในน่านน้ำไทยของหลายหน่วยงาน พบปะการัง 18 วงศ์ 71 สกุล 388 ชนิด โดยพบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปทั้งด้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่รวมประมาณ 96,300 ไร่ แบ่งเป็นเขตชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 45,500 ไร่ และชายฝั่งทะเลอันดามัน 50,800 ไร่
สถานภาพของแนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยมีพื้นที่แนวปะการัง 45,500 ไร่ โดยสภาพของแนวปะการังในอ่าวไทยทางด้านฝั่งตะวันออกมีสภาพสมบูรณ์ถึงสมบูรณ์ดีมากเช่นเดียวกับฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย โดยบริเวณเกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่พบปัญหาความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 สถานภาพของแนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
จังหวัด |
พื้นที่ (ไร่) |
สถานภาพ |
ปะการังชนิดเด่น |
สาเหตุการเสื่อมโทรม |
จันทบุรี |
37 |
ดีปานกลาง |
ปะการังโขด ปะการังดาวใหญ่ ปะการังเขาหนัง ปะการังดอกกะหล่ำ |
ความโปร่งใสของน้ำทะเลต่ำเนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่ง |
ตราด |
9,937 |
ดีปานกลาง-ดี |
ปะการังโขด ปะการังดาวใหญ่ ปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ ปะการังสมอง ปะการังช่องเหลี่ยม |
ตะกอนและน้ำเสียจากแหล่งท่องเที่ยวตาม
เกาะต่าง ๆ |
ชลบุรี |
4,687 |
ดีปานกลาง-ดี |
ปะการังโขด ปะการังวงแหวน ปะการังแผ่น ปะการังเขากวาง |
กิจกรรมการท่องเที่ยว เครื่องมือประมง น้ำมีปริมาณตะกอนมาก และขยะมูลฝอย |
ระยอง |
628 |
ดีปานกลาง-ดี |
ปะการังโขด ปะการังดาวใหญ่ ปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ ปะการังดอกเห็ด |
ปริมาณน้ำจืดและตะกอนจากปากแม่น้ำระยองและ แม่น้ำประแสร์ กิจกรรมจากการท่องเที่ยว |
ชุมพร |
4,062 |
ดี |
ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังเคลือบ ปะการังอ่อน ปะการังอ่อนหนัง ปะการังดาวใหญ่ ปะการังสมอง ดอกไม้ทะเล |
พายุ ตะกอนและเครื่องมือประมง |
ประจวบคีรีขันธ์ |
1,250 |
ดี |
ปะการังโขด ปะการังอ่อนหนัง ปะการังโต๊ะ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังอ่อนดอกเห็ด |
เครื่องมือประมง |
นครศรีธรรมราช |
347 |
ดีปานกลาง-ดีมาก |
ปะการังเขากวาง ปะการังช่องเล็กแบบกิ่งและแบบแผ่น ปะการังสมอง ประการังดอกกะหล่ำ |
ไม่พบปัญหาความเสื่อมโทรม |
สุราษฎร์ธานี |
24,187 |
ปานกลาง |
ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังเคลือบ ปะการังอ่อน ปะการังอ่อนหนัง ปะการังไฟแผ่น ปะการังสมอง |
ตะกอนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว และการขุดลอกร่องน้ำ |
ปัตตานี |
10 |
ดีปานกลาง-ดีมาก |
ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังอ่อน |
เริ่มมีดาวหนามระบาดที่บริเวณเกาะโลซิน |
หมายเหตุ: ปริมาณปกคลุมพื้นที่ คิดจาก
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = >3 ถึง 3 : 1 สภาพดีมาก
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 2 : 1 สภาพดี
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 1 : 1 สภาพดีปานกลาง
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 1 : 2 สภาพเสียหาย
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 1 : 1 ถึง > 3 สภาพเสียหายมาก
สถานภาพแนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
ชายฝั่งทะเลอันดามันมีพื้นที่แนวปะการัง 50,800 ไร่ แนวปะการังส่วนใหญ่มีสภาพสมบูรณ์ปานกลาง โดยแนวปะการังในจังหวัดสตูลมีแนวโน้มอยู่ในระดับสมบูรณ์ดีมาก ส่วนแนวปะการังในจังหวัดพังงาและภูเก็ตู่มีแนวโน้มเสื่อมโทรมมากที่สุด (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 สถานภาพของแนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
จังหวัด |
พื้นที่ (ไร่) |
สถานภาพ |
ปะการังชนิดเด่น |
สาเหตุการเสื่อมโทรม |
ระนอง |
1,625 |
เสียหาย-ดีปานกลาง |
ปะการังโต๊ะ ปะการังโขด ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังวงแหวน ปะการังสมอง ปะการังอ่อนหนัง ปะการังดอกไม้ทะเล |
ตะกอนจากป่าชายเลน และน้ำค่อนข้างขุ่นเนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่ง |
พังงา |
16,000 |
เสียหายมาก-ดีปานกลาง |
ปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ ปะการังโขด ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังนิ้วมือผิวขรุขระ ปะการังผิวยู่ยี่ ปะการังช่องเล็ก ปะการังดาวใหญ่ |
ซากปะการังถูกปกคลุมด้วยพรมทะเล (zooanthid) และดอกไม้ทะเลเล็ก (corallimorph) นอกจากนี้ยังเกิดการฟอกขาว และในบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากพิบัติภัยสึนามิ รวมไปถึงความเสียหายจากการทิ้งสมอเรือของเรือท่องเที่ยว |
ภูเก็ต |
10,375 |
เสียหายมาก-ดีปานกลาง |
ปะการังโขด ปะการังสมองร่องสั่น ปะการังดอกไม้ทะเล ปะการังดอกใหญ่ ปะการังดอกเห็ด ปะการังดอกจอก ปะการังเขากวาง ปะการังสีน้ำเงิน |
ผลกระทบจากตะกอนที่เกิดจากการขุดแร่ในทะเลช่วงปี พ.ศ. 2527-2529 และตะกอนที่เกิดจากการพัฒนาชายฝั่ง รวมไปถึงในบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากพิบัติภัยสึนามิ |
กระบี่ |
10,125 |
ดีปานกลาง |
ปะการังโขด ปะการังดาวใหญ่ ปะการังช่องหลี่ยม ปะการังสมอง ปะการังสมองร่องสั้น ปะการังโต๊ะ ปะการังจาน |
ผลกระทบจากการฟอกขาวในปี พ.ศ. 2538 และความเสียหายจากการทิ้งสมอเรือ รวมไปถึงในบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากพิบัติภัยสึนามิ |
ตรัง |
2,812 |
ดีปานกลาง-ดี |
ปะการังโต๊ะ ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังสมองร่องใหญ่ ปะการังโขด ปะการังดาวใหญ่ ปะการังเขากวาง |
การระเบิดปลาในอดีต และการระบาดของปลาดาวมงกุฎหนามในปี พ.ศ. 2529 |
สตูล |
9,875 |
ดีปานกลาง |
ปะการังโขด ปะการังเขากวาง ปะการังช่องเหลี่ยมแบบแผ่น ปะการังดอกเห็ด ปะการังโต๊ะ ปะการังช่องหนาม |
เกิดปรากฏการณ์ฟอกขาว และบางส่วนถูกพายุพัดทำลาย |
หมายเหตุ: ปริมาณปกคลุมพื้นที่ คิดจาก
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = >3 ถึง 3 : 1 สภาพดีมาก
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 2 : 1 สภาพดี
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 1 : 1 สภาพดีปานกลาง
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 1 : 2 สภาพเสียหาย
ปะการังมีชีวิต : ปะการังตาย = 1 : 1 ถึง > 3 สภาพเสียหายมาก
ประโยชน์และความสำคัญของแนวปะการัง
1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่งและแนวปะการังแบบกำแพง ช่วยป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่นและกระแสน้ำโดยตรง บริเวณชายฝั่งที่แนวปะการังถูกทำลายจะถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงจากคลื่นลมทะเลในฤดูมรสุม
2. แนวปะการังเป็นแหล่งกำเนิดทรายให้กับชายหาด ทั้งจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูน การกัดกร่อนโดยสัตว์ทะเลบางชนิดและจากกระแสคลื่น ซึ่งทำให้หินปูนปะการังแตกละเอียดเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาด มีการประมาณว่าแร่ธาตุแคลเซียมคาร์บอเนตที่ทับถมในมหาสมุทรนั้น ร้อยละ 50 เกิดจากแนวปะการัง
3. แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และยังเป็นที่อยูอาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด ที่อาศัยอยู่เฉพาะในแนวปะการัง เช่น เต่าทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน และปลิงทะเล เป็นต้น
4. แนวปะการังเป็นแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ปูนขาว กระเบื้อง และทราย
5. สิ่งมีชีวิตบางชนิดในแนวปะการัง เช่น Sea hare และ Sea fan ผลิตสารพิษเพื่อป้องกันตัวเองนั้น สามารถนำมาสกัดใช้ทำยา เช่น ยาต่อต้านโรคมะเร็ง ยาต่อต้านจุลชีพและน้ำยาป้องกันการตกผลึกและแข็งตัว เป็นต้น
6. แนวปะการังเป็นเสมือนห้องทดลองทางนิเวศวิทยา ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศในแนวปะการังเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
7. แนวปะการังจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลที่มีความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและน้ำทะเลที่ใสสะอาด ปะการังจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวการดำน้ำและการถ่ายภาพใต้น้ำ
8. ปะการังเป็นสินค้า มีกิจการส่งออกสินค้าปะการัง เปลือกหอย กระดองเต่า และปลาสวยงาม ซึ่งกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในการผลิตเครื่องประดับที่นิยมไปทั่วโลก ปัจจุบันห้ามการส่งออกปะการังและเต่าทะเลอย่างเด็ดขาด
อ้างอิง : http://www.dnp.go.th/npo/Html/Research/Coralreef/Coralreef_4.htm
การฟื้นฟูแหล่งปะการังและปัจจัยที่ควรพิจารณาประกอบ ---> คลิกที่นี่
ตัวอย่างปะการังที่พบในประเทศไทย
|
|
|
|
Acropora millepora |
Acropora pallifera |
Acropora divaricata |
Acropora sp. |
|
|
|
|
Alveopora spongiosa |
Astreopora gracilis |
Cyphastrea serailia |
Diploastrea heliopora |
|
|
|
|
Montipora sp. |
Echinophyllia aspera |
Favia speciosa |
Favites abdita |
|
|
|
|
Favites pentagon |
Lepastrea sp. |
Lobophyllia hemprichii |
Pavona decaussata |
|
|
|
|
Pavona frondifera |
Pectinia lactuca |
Physogyra lichtensteini |
Platygyra daedalea |
|
|
|
|
Platygyra sinensis |
Podabacia crustacea |
Symphyllia agarical |
Symphyllia radians |
|
|
|
|
Symphyllia recta |
Tubastrea cocinea |
Turbinaria frondens |
Turbinaria peltata |
|
|
|
|
Favia sp. |
Goniastrea pectinata |
Goniopora columna |
Goniopora sp. |
|
|
|
|
Leptoria phrygia |
Lobophyllia sp. |
Montastrea valenciennesi |
Pachyseris speciosa |
|
|
|
|
Pavona cactus |
Pavona venosa |
Pocillopora verrucosa |
Psammocora contigua |
|
|
|
|
Fungia echinata |
Galaxea fascicularis |
Leptoseris gardineri |
Pocillopora eydouxi |
|
|
|
|
Seriatiopora hystrix |
Synaraea rus |
Turbinaria reniformis |
Mycedium sp. |
สัตว์ที่อาศัยในแนวปะการัง
แนวปะการังเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ทะเลนับร้อยชนิดมาอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและมีกระดูกสันหลัง โดยมีปะการังเป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ที่สร้างหินปูนออกมาเป็นโครงร่าง และเป็นที่พักพิงอาศัยของสัตว์อื่นๆ ตัวอย่างของสัตว์ที่พบในบริเวณแนวปะการัง ได้แก่
ข้อมูลเพิ่มเติม ---> Click
รูป |
ชนิดพันธุ์สัตว์ |
รายละเอียด |
|
ชื่อไทย : ดอกไม้ทะเล (sea anemones)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
บางบริเวณของแนวปะการังพบดอกไม้ทะเลขนาดใหญ่อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม
รูปร่างเป็นทรงกระบอก ด้านล่างเป็นฐานใช้ยึดเกาะกับพื้นหิน
หรือซากปะการัง ด้านบนเป็นหนวดที่มีเข็มพิษใช้ในการจับเหยื่อ
มีปากอยู่ตรงกลาง |
|
ชื่อไทย : เห็ดทะเล (mushroom anemones)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
ดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กลักษณะรูปร่างคล้ายดอกเห็ด
ซึ่งเป็นส่วนของฐานรอบปาก มีหนวดขนาดสั้นเรียงรายอยู่ทั่วไป
และมีสีเขียวสด เนื่องจากมีสาหร่ายอาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ
พบเกาะอยู่ตามปะการังระดับน้ำไม่ลึกนัก |
|
ชื่อไทย : พรมทะเล (zoanthid)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
สัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดอกไม้ทะเลแต่อาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนี
ครอบคลุมพื้นที่ด้านในของแนวปะการังบริเวณน้ำตื้นเขตน้ำขึ้นน้ำลง ในบางครั้งที่ระดับน้ำทะเลลดลงพรมทะเลก็สามารถอยู่เหนือน้ำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง |
|
ชื่อไทย : กัลปังหา (sea fan)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
สัตว์พวกซีเลนเตอเรทที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนี ฐานที่รองรับโพลิปเป็นประเภทเขาสัตว์
บางชนิดมีสีแดง ดำ หรือน้ำตาล บางโคโลนีแผ่ออกเป็นแผ่น
และโอนเอนไปมาได้ ตัวโพลิปขนาดเล็ก แต่ละโพลิปมีหนวด 8 เส้น เห็นเป็นตัวเล็กๆ บนกิ่งก้านที่แตกแขนง |
|
ชื่อไทย : ปะการังอ่อน (soft coral)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
ปะการังอ่อนเป็นแอนโทซัว (anthozoa) กลุ่มหนึ่งที่ไม่มีการสร้าง
หินปูนออกมาเป็นฐานรองรับอย่างเดียวกับปะการังแท้จริง แต่อาจมีหนามหรือสปิคุลแทรกอยู่เพื่อทำให้เนื้อเยื่อเกิดความแข็งแรงช่วยค้ำจุนให้คงรูปร่างอยู่ได้
ลักษณะของรูปร่างโคโลนีแตกต่างกัน เช่น คล้ายกิ่งไม้หรือช่อดอกไม้หรือมีสีสันแตกต่างกัน |
|
ชื่อไทย : หนอนดอกไม้พู่ฉัตร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spirobranchus giganteus |
หนอนปล้องที่ปรับตัวเข้าไปอาศัยอยู่ภายในโครงร่างของปะการัง
โดยยื่นด้านหน้าที่มีขนเวียนเป็นพู่ฉัตรออกมาจากหลอดเพื่อหายใจ
และกินอาหารพู่ขนของหนอนดอกไม้ ซึ่งแต่ละตัวมีสีสันแตกต่างกัน
เช่น แดง เหลือง ฟ้าม่วง น้ำตาล เป็นต้น |
|
ชื่อไทย : หอยเบี้ยโป่งลายเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cypreae tigris |
หอยฝาเดียววงศ์หอยเบี้ย ขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าหอยเบี้ย
ชนิดอื่นๆ ขณะอยู่ตามธรรมชาติจะยื่นแมนเติลออกมา
คลุมเปลือกเอาไว้ บนส่วนของแมนเติลมีติ่งยื่นออกมาคล้ายหนาม |
|
ชื่อไทย : กุ้งหัวโขน หรือกุ้งมังกรเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panulirus versicolor |
กุ้งขนาดใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร
หนวดคู่ที่สองมีขนาดยาวมาก ตรงโคนหนวดมีสีชมพู เปลือกหุ้มส่วนท้องมีสีเขียวสลับด้วยคาดสีขาว
อาศัยอยู่ตามซอกหินใต้น้ำของแนวปะการังฝั่งทะเลอันดามัน |
|
ชื่อไทย : หอยมือเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tridacna squamosa |
หอยสองฝาที่ใช้เอ็นยึดติดกับพื้นหินเอาไว้
ในเวลากลางวันจะอ้าฝาออกเพื่อให้สาหร่าย
ที่อาศัยอยู่ภายในแมนเติลสังเคราะห์แสง
ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูลที่ต่างฝ่ายต่าง
ได้รับประโยชน์ โดยสาหร่ายได้ที่อยู่อาศัยและของเสีย
จากการขับถ่ายของหอยเพื่อการเจริญเติบโต ส่วนหอยได้รับออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย |
|
ชื่อไทย : ดาวทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Protoreaster lincki |
แนวปะการังหรือตามพื้นทะเลใกล้แนวปะการังเป็นที่อยู่
อาศัยของดาวทะเลหลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ดาวห้าแฉก ด้านบนมีหนามเป็นปุ่มปม ชอบกินสัตว์มีหนามหรือหอยสองฝาเป็นอาหาร |
|
ชื่อไทย : ดาวมงกุฎหนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthaster planci |
ดาวทะเลขนาดใหญ่ มีแขนรวมกัน 16 แฉก
ตามผิวหนังมีหนามยาวคล้ายเม่น ปากอยู่ทางด้านล่าง
และชอบกินโพลิปปะการังเป็นอาหาร นักนิเวศวิทยาจึงถือว่า
ดาวมงกุฎหนามเป็นตัวทำลายแนวปะการัง และมีการรณรงค์เก็บ
ดาวมงกุฎหนามมาทำลายเพื่อเป็นการช่วยควบคุม
ประชากรไม่ให้มากเกินไป |
|
ชื่อไทย : ปลิงทะเล (sea cucumber)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
สัตว์มีหนามตามผิวหนัง แต่มีลำตัวอ่อนนิ่ม หนามตามผิวหนัง
มีลักษณะเป็นปุ่มปม รูปร่างเป็นท่อน เคลื่อนที่เชื่องช้า
กินเศษอินทรีย์ตามพื้นเป็นอาหาร หากถูกรบกวนจะตอบสนอง
ต่อสิ่งกระตุ้นด้วยการปล่อยเส้นใยสีขาวออกมาซึ่งมีลักษณะเหนียว
ทำให้ศัตรูไม่กล้าเข้าใกล้ |
|
ชื่อไทย : เม่นทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diadema setosum |
เม่นทะเลหนามยาวสีดำที่พบทั่วไปในน่านน้ำไทยมักอาศัยอยู่บริเวณเดียวกันเป็นกลุ่มตามพื้นหรือบนปะการัง ปากของเม่นทะเลอยู่ทางด้านล่างชอบกินหนอนตามพื้นทะเลหรือล่าพวกเดียวกันเป็นอาหาร |
|
ชื่อไทย : ปลาไหลมอเรย์ (moray eel)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnothorax sp. |
ปลาไหลมอเร่ย์เป็นปลาขนาดค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายงู
มีความยาวประมาณ 1 เมตร ลำตัวมีลายต่างๆ กัน ตามปกติมักซ่อนตัวอยู่ในซอกปะการังและโผล่ส่วนหัวออกมาจับเหยื่อหรือเฝ้าระวังรักษาถิ่นที่อยู่
หากถูกรบกวนอาจฉกกัด |
|
ชื่อไทย : ปลาข้าวเม่าน้ำลึก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holocentrus rubrum |
ลำตัวสีแดงสลับขาว ตากลมโต เกล็ดหยาบ
ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก
มักหลบซ่อนตัวอยู่ตามชะง่อนผา หรือกองหินใต้น้ำ
มากกว่าการว่ายน้ำ ปรากฏตัวพบอยู่ตามแนวปะการัง
และเกาะแก่งริมชายฝั่งทะเล |
|
ชื่อไทย : ปลาผีเสื้อครีบยาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heniochus acuminatus |
มีครีบขาวยาวเด่นชัด ด้านข้างมีแถบสีดำ
คาดตามขวางในแนวเฉียง 2 แถบ
มักอาศัยอยู่เป็นคู่ หรือเป็นฝูงขนาดย่อม
เนื่องจากปากมีขนาดเล็กจึงมักกินกุ้งหนอน
และเศษอาหารชิ้นเล็กๆ ด้วย |
|
ชื่อไทย : ปลาสิงโต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterois volitan |
ปลาที่มีครีบซึ่งประกอบด้วยก้านครีบแข็งและ
มีต่อมน้ำพิษอยู่ด้วยใช้สำหรับป้องกันการถูกล่า นับเป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดได้ดีเนื่องจากเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เชื่องช้า
โดยส่วนใหญ่พบทางด้านฝั่งทะเลอันดามัน |
อ้างอิง : http://www.geocities.com/metscience/sea/coral/coral.html
กลับสู่หน้าหลัก |